ทำความรู้จักท่อร้อยสายไฟฟ้า ชนิด HDPE  ตัวช่วยเก็บงานสำหรับช่างไฟฟ้า

ท่อร้อยสายไฟแบบไหนเหมาะกับงานอะไร




ท่อร้อยสายไฟ PE, HDPE

 

ท่อร้อยสายไฟ นับเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่มีความสำคัญกับการเดินระบบสายไฟภายในอาคารเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในอาคารที่มีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในปริมาณสูง เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือ คอนโดที่พักอาศัย เพราะถึงแม้ว่าสายไฟจะเป็นตัวกลางในการลำเลียงไฟฟ้าไปยังจุดต่าง ๆ โดยรอบอาคาร แต่วัสดุที่หุ้มสายไฟนั้น บางวัสดุเป็นวัสดุที่มีความบอบบาง และไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม จึงจำเป็นต้องใช้ท่อร้อยสายไฟชนิดต่าง ๆ เช่น ท่อโลหะ ท่อพีวีซี หรือท่อเอชดีพีอี เป็นต้น เป็นตัวช่วยในการเดินสายเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟฟ้าชำรุดเสียหาย เพื่อการใช้งานได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน 

 

ประเภทของท่อร้อยสายไฟ

ท่อร้อยสายไฟ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามวัสดุที่นำมาใช้งาน ได้แก่ ท่อร้อยสายไฟที่ทำมาจากโลหะ เช่น ท่อโลหะบาง ท่อโลหะหนา และท่อโลหะอ่อน เป็นต้น และท่อร้อยสายไฟชนิดที่ไม่ได้ทำมาจากโลหะ เช่น ท่อพีวีซี (PVC) ท่อเอชดีพีอี (HDPE) หรือเรียกอีกชื่อว่า ท่อพีอี (PE) โดยการเลือกใช้งานท่อร้อยสายไฟแต่ละประเภทนั้น จะพิจารณาจากรูปแบบของการเดินระบบไฟฟ้าที่แตกต่างกัน เช่น การเดินระบบสายไฟภายในหรือภายนอกอาคาร ฝังในผนังหรือใต้พื้นคอนกรีต รวมถึงการเดินระบบไฟฟ้าในสถานที่แห้งหรือที่เปียกชื้น เป็นต้น

สำหรับท่อร้อยสายไฟประเภทที่นิยมนำมาใช้ในอาคารบ้านเรือน ซึ่งเป็นการใช้งานในระบบที่มีกำลังการใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก เช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบสาย LAN หรือระบบกล้องวงจรปิด มักจะนิยมใช้เป็นท่อเอชดีพีอี หรือ ท่อพีอี ซึ่งเป็นท่อพลาสติกที่มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

 

ท่อเอชดีพีอี (High Density Polyethylene)

ท่อร้อยสายไฟ HDPE หรือ ที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท่อร้อยสายไฟ PE คือ เป็นท่อที่ผลิตมาจากพลาสติก พอลิเอทิลีน (Polyethylene, PE) ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดที่มีความหนาแน่นสูง ทำให้มีความแข็งแรง ยืดหยุ่นตัวได้ดี มีน้ำหนักเบา ทนทานต่อการบีบอัดและการกระแทก

ตัวท่อร้อยสายไฟ HDPE จะมีลักษณะเป็นท่อสีดำ พื้นผิวมีความเรียบ มัน ทั้งบริเวณด้านนอกและด้านใน ทำให้การร้อยสายไฟมีความสะดวก ไม่ฝืด หรือติดขัด และมีคุณสมบัติในการต้านเปลวไฟ จึงนิยมนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากท่อเอชดีพีอีมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนจากปฏิกิริยาทางไฟฟ้า ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่มีสาเหตุมาจากไฟฟ้า ทำให้สามารถนำมาใช้เพื่อการเดินระบบไฟฟ้าในสถานที่โล่งแจ้ง ภายในอาคาร หรือการฝังดินได้ เพราะสามารถทนทานต่อทุกสภาพอากาศ และสามารถต้านทานต่อความเป็นกรด-ด่างของดิน ไม่เป็นสนิม และไม่สามารถทำปฏิกิริยากับสารเคมี

 

ประเภทของท่อ HDPE

ท่อเอชดีพีอี สามารถแบ่งประเภทการใช้งานได้ตามแถบสีที่คาดอยู่บนท่อ ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ท่อเอชดีพีอี ชนิดคาดแถบสีฟ้า เป็นท่อสำหรับใช้งานในระบบงานประปา หรือระบบงานอื่น ๆ เช่น การใช้งานในด้านเหมืองแร่ และการลำเลียงผ่านท่อในบริเวณที่ลาดชัน รวมถึงการใช้งานในด้านอุตสาหกรรมและเคมีภัณฑ์ เป็นต้น และท่อเอชดีพีอี ชนิดคาดแถบสีส้ม ซึ่งเป็นท่อสำหรับการใช้งานในระบบร้อยสายไฟฟ้า

 

ท่อ PE สำหรับงานระบบร้อยสายไฟฟ้า (คาดแถบสีส้ม)

ท่อเอชดีพีอีสำหรับงานระบบร้อยสายไฟฟ้า (คาดแถบสีส้ม) ผลิตขึ้นจากวัสดุพอลิเอทิลีนที่มีความหนาแน่นสูง ทำให้มีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เคมี และคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ดี เหมาะสำหรับการนำมาใช้ในงานในระบบท่อร้อยสายไฟฟ้า โดยท่อเอชดีพีอี หรือ ท่อพีอี สามารถรับแรงดันไฟฟ้าสูงสุดได้ถึง 500 KV.

สำหรับขนาดของท่อเอชดีพีอีจะมีตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 มม. ไปจนถึง ขนาด 200 มม. โดยมีความยาวมาตรฐานอยู่ที่ท่อนละ 6 เมตร และ 12 เมตร ในส่วนของท่อขนาดเล็ก จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 20 มม.จนถึง 110 มม. และสามารถนำมาขดเป็นม้วนได้ โดยมีความยาวม้วนละ 50 เมตร และ 100 เมตร ทำให้สะดวกต่อการขนส่ง เคลื่อนย้าย และการติดตั้ง 

 

มาตรฐานของท่อร้อยสายไฟพีอี

มาตรฐานของท่อเอชดีพีอีจะอ้างอิงตามข้อกำหนดทางวิศวกรรมจากการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ตามมาตรฐาน DIN 8074/8075 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนยอมรับในการใช้ท่อ HDPE สำหรับระบบงานท่อร้อยสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล สายโทรศัพท์ รวมถึงสายเคเบิ้ลใยแก้ว (Optional Fiber Cables) เพื่อเป็นฉนวนป้องกันสายเคเบิ้ลใต้ดิน(Underground Cable System) ทั้งในระบบธรรมดาและระบบ HDD (Horizontal Directional Drilling) ซึ่งสอดคล้องกับการใช้งานในหน่วยงานรัฐ และเอกชน เช่น MEA, PEA, TOT, CAT Telecom และโครงการอื่น ๆ เป็นต้น

 

คุณสมบัติที่โดดเด่นของท่อพีอีร้อยสายไฟ

  • วัสดุที่นำมาใช้ผลิตท่อ PE ร้อยสายไฟ มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า ทำให้ปลอดภัยจากการเกิดปัญหากระแสไฟฟ้ารั่ว
  • ขนาดของท่อเอชดีพีอีมีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ขนาด 20 มม. ไปจนถึง 200 มม. จึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้งานในระบบงานที่มีความต้องการแตกต่างกัน เช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบสายเคเบิ้ล หรือระบบกล้องวงจรปิด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ท่อเอชดีพีอีสามารถนำมาขดเป็นม้วนได้ ทำให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและขนส่ง รวมถึงประหยัดจุดเชื่อมต่อและประหยัดเวลาในการติดตั้ง เนื่องจากสามารถนำมาขดได้ยาวถึงม้วนละ 50 เมตร และ 100 เมตร 
  • ท่อเอชดีพีอีมีแถบสีส้มคาดอยู่บริเวณผิวด้านนอกของท่อ ทำให้สามารถแยกแยะประเภทการใช้งานระหว่างท่อร้อยสายไฟ และท่อประปา ได้อย่างชัดเจน เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในระหว่างการซ่อมบำรุง
  • พื้นผิวบริเวณด้านนอกและด้านในของท่อเอชดีพีอี มีความเรียบ ลื่น และมีความฝืดต่ำ จึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้ในงานร้อยสายไฟ สายเคเบิ้ล รวมถึงสายส่งสัญญาณ โดยไม่ทำให้สายเกิดการหักงอหรือเกิดความเสียหาย
  • ท่อพีอีร้อยสายไฟสามารถทนทานต่อทุกสภาพอากาศ รวมถึงทนทานต่อสภาพความเป็นกรดและด่างของดินได้เป็นอย่างดี ไม่เป็นสนิม และไม่ผุกร่อน จึงสามารถนำมาใช้งานในระบบท่อร้อยสายไฟแบบฝังใต้ดิน
  • ท่อเอชดีพีอีทนต่อแรงกด แรงกระแทก และมีความยืดหยุ่นสูง ทำให้ไม่เกิดการแตก หัก หรือร้าวแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่ เช่น การทรุดตัวของพื้นดิน หรือการเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น

 

คุณประโยชน์ของท่อเอชดีพีอีสำหรับการใช้งานในด้านต่าง ๆ 

  • การใช้ในงานท่อร้อยสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ และ ท่อร้อยสายไฟฟ้าแรงดันสูง 
  • การใช้ในท่อร้อยสายโทรศัพท์
  • การใช้ในท่อร้อยสายเคเบิ้ลประเภทต่าง ๆ 
  • สามารถใช้งานได้ทั้งในการเดินระบบแบบฝังใต้ดิน และแบบฝังใต้น้ำ  

 

ประโยชน์ของการใช้ท่อร้อยสายไฟ HDPE

  1. การใช้ท่อเอชดีพีอีช่วยป้องกันไม่ให้สายไฟ รวมถึงสายเคเบิ้ล และสายโทรศัพท์อื่น ๆ เกิดความเสียหาย เนื่องจากท่อร้อยสายไฟเป็นตัวห่อหุ้มเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ตัวสายไฟไปสัมผัสโดนกับวัสดุต่าง ๆ โดยตรง เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการที่สายไฟจะเกิดการชำรุดหรือเกิดการเสียหาย
  2. การใช้ท่อร้อยสายไฟสามารถป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟรั่วได้ เนื่องจาก ท่อ HDPE หรือ ท่อ PE เป็นท่อร้อยสายไฟที่ผลิตมาจากวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า ดังนั้นเมื่อเกิดการสัมผัสในบริเวณที่มีสายไฟชำรุด รั่ว หรือเสียหาย โดยไม่ได้ตั้งใจ การที่มีท่อร้อยสายไฟช่วยห่อหุ้มอยู่ ก็จะช่วยป้องกันผู้สัมผัสจากการโดนไฟดูดได้
  3. ท่อร้อยสายไฟช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินสายไฟ เนื่องจากเมื่อมีท่อร้อยสายไฟอยู่ก่อนแล้ว การจะเปลี่ยนหรือเดินสายไฟใหม่ ก็สามารถทำได้โดยการเดินสายตามระบบท่อร้อยสายไฟที่มีอยู่ก่อนแล้วได้เลย โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาในการหาที่ยึดสายไฟ รวมถึงหาเส้นทางในการโยงสายไฟ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการทำงานได้เป็นอย่างดี
  4. การใช้ท่อ HDPE ร้อยสายไฟ สามารถป้องกันไฟไหม้ที่เกิดจากกรณีไฟฟ้าลัดวงจรได้ เนื่องจากเมื่อเกิดไฟรั่วกระแสไฟฟ้าที่ยังคงวิ่งผ่านสายไฟเป็นจำนวนมากจนอาจทำให้เกิดสะเก็ดไฟ ซึ่งสามารถกระเด็นไปติดสิ่งของรอบข้างจนเกิดประกายไฟลุกลามได้ ดังนั้น หากมีป้องกันสายไฟด้วยการใส่ท่อร้อยสายไฟเอาไว้อยู่ก่อนแล้ว ก็จะทำให้สะเก็ดไฟดังกล่าวติดอยู่ภายในท่อร้อยสายไฟ ซึ่งช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. บ่อยครั้งที่เวลาเดินระบบสายไฟเสร็จเรียบร้อยแล้วมักจะสายไฟห้อยระโยงระยางเต็มไปหมด การใช้ท่อ HDPE เพื่อร้อยสายไฟจึงช่วยให้การเก็บสายไฟฟ้าเหล่านั้นเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น และยังช่วยป้องกันการเหยียบหรือสัมผัสสายไฟโดยไม่ตั้งใจ และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินสะดุดสายไฟได้อีกด้วย

 



สำหรับลูกค้าที่กำลังมองหาท่อ HDPE ที่สามารถใช้ได้ทั้งงานบนดินและฝังใต้ดิน เพื่อใช้เป็นฉนวนสำหรับหุ้มป้องกันสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล สายโทรศัพท์ และสายเคเบิ้ลใยแก้ว สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 085-567-1222, 092-775-9000 Fax : 02-876-1733 หรือทาง Email : saphomec@gmail.com และ Line : @saphome

 

 

Visitors: 518,638