ของจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม - ท่อประปา และ ท่อร้อยสายไฟ

ของจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม - ท่อประปา และ ท่อร้อยสายไฟ

เลือกท่อผิด ชีวิตพังได้เหมือนกัน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคปัจจุบันน้ำประปาและไฟฟ้าเป็นปัจจัยจำเป็นที่มนุษย์ต้องใช้ในทุกกิจกรรมของชีวิต ทำให้ระบบในการส่งน้ำประปาและกระแสไฟฟ้าจึงเป็นระบบที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะถ้าเมื่อไรก็ตามที่ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานชำรุด ย่อมกระทบถึงการใช้ชีวิตของผู้คนทันที และในความชำรุดที่เกิดขึ้นเหล่านี้ มีองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญนั่นคือเรื่องของท่อ อย่างท่อประปา และ ท่อร้อยสายไฟ

ประเภทของท่อประปา

ท่อประปา อุปกรณ์สำคัญในระบบการส่งน้ำประปาเข้าสู่อาคารเพื่อการอุปโภคบริโภค ตั้งแต่บ้านเรือน คอนโด ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้นท่อประปาจึงต้องมีคุณสมบัติส่งผ่านน้ำได้อย่างสะอาด ปลอดภัย ไม่มีสิ่งใดเจือปนให้เป็นอันตรายแก่ผู้คน และไม่รั่วซึม

เพราะถ้าเมื่อไรก็ตามที่ท่อประปารั่วซึม นั่นจะกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน สาเหตุของการรั่วซึ่มนั้นเกิดขึ้นได้อย่างเช่น เกิดจากแรงกระแทกกลับภายในท่อประปา (อย่างเวลาเมื่อไฟฟ้าดับจะทำให้ปั๊มน้ำหยุดทันที น้ำในท่อที่ไหลออกไม่ได้จะเกิดแรงดันแล้วอาจส่งผลทำให้ท่อแตก) เกิดจากแรงกระแทกนอกท่อประปา (อย่างท่อประปาใต้ดินที่จะถูกกดทับจากแรงกระแทกของรถที่วิ่งผ่านไปมา หรือดินที่ใช้กลบท่อประปาทรุด หรือแม้กระทั่งโครงสร้างบ้านทรุดตัวในบริเวณที่เดินท่อประปาก็มีผล) ดังนั้นเราควรเลือกซื้อท่อประปาที่มีคุณภาพ (อย่างท่อ PE, HDPE, และ PPR) จากบริษัทที่ไว้วางใจได้

โดยปกติแล้วประเภทของท่อประปาจะแบ่งตามวัสดุที่ใช้ผลิต ซึ่งก็จะมีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกันไป ดังนี้


ท่อเหล็กอาบสังกะสี

ทำจากเหล็ก อาบด้วยสังกะสี เหมาะสำหรับงานเดินท่อประปา งานเดินสายไฟนอกอาคาร งานปศุสัตว์ทั้งหลาย ระบบท่อระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศ อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้ในเรือนเพาะชำ และงานขึ้นรูปโครงสร้างต่าง ๆ มีความแข็งแรงทนทาน สะดวกในการเชื่อมต่อไม่เป็นสนิม



ท่อ PVC

PVC หรือ Polyvinyl Chloride เป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง ทนต่อน้ำมันและกันกลิ่นได้ดี แข็งแรงทนทานต่อการเสียดสี ในขณะที่ความต้านทานต่อการซึมผ่านของความชื้นอยู่ในขั้นปานกลาง อุณหภูมิใช้งานของ PVC ไม่เกิน 90 องศาเซลเซียส และถ้าอุณหภูมิการใช้งานเกินกว่า 137 องศาเซลเซียส ตัวพลาสติกจะเริ่มเปลี่ยนคุณภาพ โดยปกติแล้วท่อ PVC จะแบ่งเป็น 3 สี ดังนี้

- ท่อ PVC สีฟ้า ใช้สำหรับเป็นท่อน้ำดื่ม เป็นที่นิยมใช้งานประปาสุขาภิบาลภายในอาคาร เช่น ใช้เป็นท่อน้ำประปา หรือใช้กับปั๊มน้ำ ที่เป็นที่นิยมใช้งานภายในอาคารนั้นก็เพราะว่าท่อชนิดนี้ไม่ทนต่อแสงแดด การที่สัมผัสกับแสงแดดโดยตรงนั้นจะทำให้ท่อเสื่อมคุณภาพและแตกหักได้ง่าย

- ท่อ PVC สีเหลือง ใช้สำหรับร้อยสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ภายในอาคารโดยเฉพาะ มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า จึงไม่นำไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟรั่ว มีคุณสมบัติไม่เป็นสนิม และไม่ลามไฟ

- ท่อ PVC สีเทา หรือท่อพีวีซีแข็งสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม ใช้ในงานการเกษตรหรืองานระบายน้ำทิ้งโดยเฉพาะ เหมาะกับงานที่ไม่ต้องใช้แรงดันของท่อมากนัก



ท่อ Syler Link 

ท่อไซเลอร์ คือท่อเหล็กกล้าชุบสังกะสีบุด้วยสารโพลีเอทิลีน ไม่เป็นสนิม มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าท่อเหล็กอาบสังกะสีปกติถึง 50 ปี โครงสร้างด้านนอกแข็งแรงด้วยเหล็กกล้า ด้านในสะอาด ปลอดภัย ไม่รั่วซึม ไม่เป็นสนิม สามารถทนแรงดันได้ 50 บาร์ อุณภูมิใช้งานได้ถึง 90 องศาเซลเซียส มีคุณสมบัติที่สามารถป้องกันปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นท่อเป็นสนิมอุดตัน ท่อตกท้องช้าง ท่อกรอบแตกเมื่ออยู่กลางแจ้ง ไม่มีสารเคมีและสารก่อมะเร็งปนเปื้อน ไม่ลามไฟเมื่อเกิดอัคคีภัย ติดตั้งง่ายแม้อยู่ในที่แคบ ข้อต่อของท่อไซเลอร์ มีการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้มีการสัมผัสกันของน้ำกับตัวเนื้อเหล็กภายในท่อ สำหรับตัวท่อนั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

- แบบธรรมดา เป็นท่อธรรมดาและน้ำเย็น ใช้ที่อุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส
- แบบสำหรับน้ำร้อน เป็นท่อน้ำร้อน ใช้ที่อุณหภูมิไม่เกิน 90 องศาเซลเซียส

ท่อ HDPE

ท่อเอชดีพีอี หรือ High-density Polyethylene (HDPE) หรือที่มักเรียกกันคือ ท่อพีอี หรือ โพลีเอทิลีน (Polyethylene) ผลิตจากโพลีเอทิลีนที่หนาแน่นสูง เป็นท่อที่ไม่มีสารพิษหรือสารเคมีตกค้าง ไม่เป็นสนิม ไม่มีโลหะหนักไม่มีสารก่อมะเร็ง ทนต่อกรด ด่าง เกลือ จะมีผิวสัมผัสภายในท่อที่เรียบ ลื่น มัน ทำให้น้ำที่ส่งภายในท่อมีอัตราการไหลของน้ำได้ดี จึงทำให้ท่อเอชดีพีดีมีประสิทธิภาพในการลำเลียงของเหลวและน้ำไหลผ่านได้สะดวก สามารถเดินท่อได้ทั้งภายในอาคารหรือกลางแจ้ง ด้วยกระบวนการผลิตตัวพลาสติกจะมีการผสมสารป้องแสงแดด มีความหยืดหยุ่นตัว สามารถโค้งงอได้ตามลักษณะการใช้งาน

      


ท่อ PPR 

ท่อพีพีอาร์ หรือ Polypropylene Random Copolymer (PPR) เป็นท่อที่ทำมาจากเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง เหมาะสำหรับนำมาใช้งานเป็นท่อประปา ไม่เป็นสนิม ไม่มีสารเคมี ปราศจากสารก่อมะเร็งเจอปน เหมาะสำหรับเป็นท่อในระบบท่อน้ำเพื่อการบริโภค ทั้งน้ำร้อนและเย็น ภายในอาคาร บ้านพักอาศัย โรงพยาบาล โรงแรม อาคารสำนักงาน อาคารเรียน ท่อน้ำสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร เคมีที่เป็นของเหลว ท่อในเรือ ท่อสำหรับน้ำกลั่น น้ำกรอง น้ำแร่ ท่อให้ความร้อนสำหรับพื้น ท่อน้ำฝน ท่อลมแรงดันสูง ท่อน้ำสำหรับสระว่ายน้ำ ท่อน้ำเพื่อการเกษตร และระบบท่อน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศ


ท่อทองแดง
เป็นท่อประปาแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมากที่สุดก่อนที่จะเริ่มมีวัสดุอื่นเข้ามาทดแทน ท่อทองแดงมีคุณสมบัติที่ แข็ง ทนทานต่อการกัดกร่อน ทนความร้อนสูง แต่หากมีการสัมผัสกับอากาศอาจทำให้ทองแดงเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมดำหรือสีสนิม นิยมใช้กันมากที่สุดในหมวดงานปรับอากาศ หรือเรื่องการเดินท่อน้ำยาแอร์ มีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 50 ปีก่อนที่ผนังจะเริ่มบางลงและจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ หรือสัมผัสกับอากาศบ่อย ๆ อาจทำให้ทองแดงเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมดำหรือสีสนิม


ประเภทของท่อร้อยสายไฟ
ท่อร้อยสายไฟ อุปกรณ์สำคัญในระบบเดินสายไฟภายในอาคาร โดยเฉพาะอาคารที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้าปริมาณมาก ถึงแม้ว่าสายไฟจะเป็นตัวกลางในการลำเลียงไฟฟ้าไปยังจุดต่าง ๆ โดยรอบอาคาร แต่วัสดุที่หุ้มสายไฟนั้นบางวัสดุเป็นวัสดุที่มีความบอบบางและไม่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม จึงจำเป็นต้องใช้ท่อร้อยเพื่อป้องกันการชำรุดที่อาจเกิดขึ้นได้

หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าจริง ๆ แล้วท่อร้อยสายไฟมีความจำเป็นมากกว่าที่คิด นอกจากจะช่วยป้องกันสัตว์ต่าง ๆ มาแทะสายไฟของเรา (โดยเฉพาะหนู) ท่อร้อยสายไฟยังเป็นตัวช่วยในการจัดระเบียบสายไฟให้เป็นที่เป็นทาง ไม่เกะเกะ ซ่อนสายตาได้ เพิ่มความสวยงามให้แก่พื้นที่ในและนอกอาคาร และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ สามารถป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ในกรณที่มีไฟฟ้าลัดวงจร มีโอกาสสูงที่ไฟจะลุกไหม้ตามสายไฟได้ การใช้การร้อยท่อสายไฟจะทำให้ไฟนั้นจำกัดไว้เพียงแค่ในท่อเท่านั้น ดังนั้นเราควรเลือกซื้อท่อร้อยสายไฟที่มีคุณภาพ (อย่างท่อ HDPE) จากบริษัทที่ไว้วางใจได้อย่างที่กล่าวไป

ท่อร้อยสายไฟสามารถแบ่งออกได้วัสดุที่นำมาใช้งาน ซึ่งก็จะมีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกันไป ดังนี้


ท่อร้อยสายไฟโลหะ
สามารถแบ่งออกเป็น โลหะขนาดบาง (EMT - Electrical Metallic Tubing) ใช้เดินลอยในตัวอาคาร อากาศ หรือฝังในผนังคอนกรีตได้ แต่ก็มีข้อห้ามเช่นกันคือ ห้ามฝังในดิน ฝังในพื้นคอนกรีต ตามสถานที่อันตราย หรือบริเวณพื้นที่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ, โลหะขนาดกลาง (IMC - Intermediate Conduit) เหมาะสำหรับเดินลอยภายนอกอาคาร ฝังในผนัง และพื้นคอนกรีต, โลหะหนาพิเศษ (RSC - Rigid Steel Conduit) เหมาะสำหรับใช้ในการเดินนอกอาคาร ฝังผนังและพื้นคอนกรีต, โลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit) ใช้ในการป้องกันสายไฟจากการถูกขีดหรือขูด ฝุ่นควันต่าง ๆ ที่อยู่ภายในตึกอาคารสูง โรงงาน หรือเครื่องจักรที่มีการสั่นสะเทือน (ห้ามใช้ท่อโลหะอ่อนเป็นตัวนำแทนการใช้สายดิน), และ โลหะอ่อนกันน้ำ (Rain tight Flexible Metal Conduit) จะมี PVC เป็นเปลือกหุ้มอยู่บริเวณด้านนอกเพื่อช่วยกันความชื้น ไม่ให้เข้าไปสู่ด้านในท่อได้ สามารถที่จะใช้ฝังในผนังหรือพื้นคอนกรีตได้ และเหมาะสำหรับนำมาใช้งานในพื้นที่ที่มีความชื้นหรือเปียก และพื้นที่ที่ต้องการความอ่อนตัวของท่อ


ท่อร้อยสายไฟ HDPE
นอกจากที่เอชดีพีอีจะเป็นท่อประปาแล้ว วัสดุนี้ก็ยังนำมาทำเป็นท่อร้อยสายไฟได้อีก ด้วยคุณสมบัติที่มีน้ำหนักที่เบากว่าท่อชนิดอื่น ๆ สามารถเคลื่อนย้ายได้ไม่ยาก โค้งงอได้ โดยที่ไม่ต้องใช้กาวต่อท่อง่ายต่อการก่อสร้าง แข็งแรง สามารถทนต่อแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี มีความยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อการกัดกร่อน ไม่เป็นสนิม ไม่มีโลหะหนัก มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนจากปฏิกิริยาทางไฟฟ้าซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่มีสาเหตุมาจากไฟฟ้า ทนต่อแสงอาทิตย์และรังสียูวีได้อย่างดี ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ เหมาะสมกับสำหรับสภาพอากาศประเทศไทย และมีอายุการใช้ที่ยาวนานมากกว่า 50 ปี ท่อร้อยสายไฟเอชดีพีอีจึงเหมาะสำหรับทั้งงานภายในอาคารและภายนอกอาคารอย่างยิ่ง



หากใครกำลังมองหาท่อประปา ท่อร้อยสายไฟ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เอสเอพี โฮมเซนเตอร์ (SAP Home Center) ศูนย์รวมท่อประปา ท่อร้อยสายไฟฟ้า และอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้องกับท่อทุกชนิด ด้วยคุณภาการผลิตจากเครื่องจักรทันสมัย ได้มาตรฐาน มอก. ยินีให้คำปรึกษา พร้อมบริการที่รวดเร็ว ทันใจ และคุ้มค่าในราคา สินค้าที่จำหน่าย เช่น ท่อ PE ท่อ HDPE ท่อ Syler ท่อ PVC และอื่น ๆ อีกมากมาย ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.saphomecenter.com/ email: saphomec@gmail.com โทร. 085-567-1222, 092-775-9000 แฟ็กซ์ 02-876-1733 LINE ID: @saphome

Visitors: 518,561