ท่อสายไฟฝังดิน ควรใช่ท่อแบบไหน

ท่อสายไฟฝังดิน ควรใช้ท่อแบบไหน

วิธีเลือกท่อสายไฟฝังดิน ควรใช้ท่อแบบไหน

ท่อสายไฟ ฝังดิน ควรใช้ท่อแบบไหน

ก่อนอื่นอยากให้คุณเห็นภาพก่อนว่า ท่อสายไฟ ฝังดิน หรืออีกชื่อที่เรียกว่าท่อร้อยสายไฟ คืออะไร ท่อที่ใช้เก็บความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสายไฟ เพื่อป้องกันสายไฟไม่ให้กระทบกับสิ่งเร้าที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น การกัดแทะของสัตว์ หรือสิ่งของมีคมไปขูดเกี่ยว ที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งท่อร้อยสายไฟ หรือท่อสายไฟฝังดิน มีข้อดีมากๆ และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้

  1. ช่วยป้องกันสิ่งที่ไม่คาดคิดเช่น กันสัตว์กัดแทะ หรือมือเด็กเล็ก ของมีคม จนทำให้เกิดความเสียหาย
  2. เพื่อความสวยงาม ซ่อนสายไฟฟ้า ไม่ให้รกหูรกตา เป็นระเบียบ ดูแลรักษาง่าย
  3. สามารถป้องกันไฟไหม้ได้เนื่องจาก เกิดกรณีการลัดวงจร ประกายไฟจะถูก จำกัดให้อยู่ภายในท่อ ไม่ให้ออกมาติดไฟกับสิ่งของข้างนอกท่อ
  4. ยืดอายุการใช้งานของสายไฟได้ดี 

เลือกท่อร้อยสายไฟ ฝังดิน แบบไหนถึงจะตอบโจทย์ ระหว่างท่อ PVC VS ท่อโลหะ

คงมีหลาย ๆ คน คงตัดสินใจไม่ได้ว่าต้องใช้แบบไหน เอาแบบคุ้มค่าเลยไหม หรือแค่พอประมาณ วันนี้เราจะแชร์เทคนิค ที่คุณกำลังสนใจที่จะลองเดินระบบสายไฟภายในบ้าน หรือ วางระบบสายไฟภายในสำนักงานของตนเอง รู้ไว้งบไม่บานปลายแน่นอน การรู้พื้นฐานก็สามารถป้องกันการหลอกให้เราจ่ายแพงได้ด้วย และทุกคนจะสับสนมากระหว่างการเลือกท่อร้อยสายไฟ (ท่อสายไฟฝังดิน) PVC กับท่อโลหะ

ระหว่างท่อ PVC กับ ท่อโลหะนั้น สามารถที่จะนำมาร้อยสายไฟได้เหมือนกัน แต่ทั้งสองแบบนี้แตกต่างกันแค่ไหนอย่างไร และควรจะตัดสินใจเลือกใช้แบบไหนดี บทความนี้มีคำตอบ และอีกวิธีที่อยากได้คำตอบแบบลึกขั้นสุด คุณสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจาก เอสเอพี โฮม เซนเตอร์ได้ตามช่องทางการติดต่อด้านล่าง

ประเภทของท่อ PVC สำหรับงานฝังสายไฟลงดิน 

ปกติแล้วท่อร้อยสายไฟ PVC นั้นหลัก ๆ ที่ได้รับความนิยมนำมาใช้กันก็จะเป็นท่อร้อยสายไฟสีเหลืองแต่จริง ๆ แล้วในปัจจุบันก็จะมีรูปแบบใหม่ๆ ที่เข้ามาตอบโจทย์ให้รอบด้านมากขึ้น เช่น ท่อ PVC สีขาวเป็นอีกแบบหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในงานเดินสายไฟด้วยเช่นกัน ซึ่งสีที่แตกต่างกันนั้นก็เป็นการสะท้อนถึงคุณสมบัติที่แตกต่างกันด้วย คือ

  • ท่อร้อยสายไฟสีเหลือง : เหมาะกับการใช้เดินระบบสายไฟแบบฝังผนัง แบบนี้จะเป็นแบบมาตรฐานที่นิยมใช้กันตามบ้านเรือนและอาคารทั่วไป จะนำมาใช้ร้อยสายไฟก่อนที่จะทำการฉาบปูนปิดผนัง ซึ่งจะช่วยทำให้ผนังบ้านดูเรียบสวยไม่รกตาและยังทำให้การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ง่ายขึ้นด้วย

  • ท่อสายไฟสีขาว : เหมาะกับการใช้เดินสายไฟแบบลอยหรือติดชิดกับผนัง ในระยะหลังที่ได้รับความนิยมเนื่องจากเข้ากับสไตล์การตกแต่งบ้านแนว Loft ทำให้การโชว์ผนังปูนเปลือยดูโดดเด่นมีความดิบที่ชัดเจนขึ้น

      

แต่ถ้าพูดถึงจุดเด่นในภาพรวมที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้คือ ท่อ PVC สำหรับงานเดินสายไฟแล้วจะอยู่ตรงที่ใช้งานง่ายราคาถูกกว่าแบบโลหะ สามารถช่วยลดปัญหาและป้องกันอันตรายจากไฟรั่วได้ดีพอสมควรทีเดียว แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ท่อแบบนี้จะไม่เหมาะกับการใช้ร้อยสายไฟแบบฝังดิน เพราะท่อมีโอกาสแตกได้

ท่อโลหะสำหรับงานร้อยสายไฟ
ก็เช่นกันท่อโลหะสำหรับงานร้อยสายไฟก็มีให้เลือกใช้มากกว่า 1 แบบ หลัก ๆ ก็จะมีอยู่ 2 แบบให้เลือกใช้ คุณสมบัติก็จะต่างกันไป คือ

  • ท่อ EMT : เป็นท่อโลหะแบบบาง สามารถที่จะดัดโค้งงอได้พอสมควร ท่อแบบนี้เหมาะกับการใช้เดินลอยสายไฟ จะช่วยชูจุดเด่นในการตกแต่งบ้านสไตล์ Loft ได้ดีเป็นอย่างมาก แต่ถึงจะเป็นท่อโลหะ ท่อแบบนี้ก็ยังไม่เหมาะต่อการร้อนสายไฟลงดิน

  • ท่อ IMC : เป็นท่อโลหะแบบแข็งหรือแบบแป๊บเหล็กที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง ท่อแบบนี้ก็เหมาะกับการเดินลอยสายไฟ ใช้ฝังผนัง หรือจะใช้ร้อยสายไฟฝังดินก็ได้เช่นกัน

ในภาพรวมแล้วท่อแบบโลหะจะให้ความแข็งแกร่งทนทานมากกว่าท่อ PVC แต่ในด้านราคาจะสูงกว่าตามคุณภาพ และการเดินท่อจะยากกว่ารวมถึงตัวโครงสร้างจะต้องแบกน้ำหนักตัวท่อเพิ่มขึ้น สรุปโดยรวมแล้วหากอยากฝังสายลงดิน ควรใช้ ท่อโลหะ แบบ IMC หรือท่อร้อยสายไฟอีกประเภท คือ

  • ท่อร้อยสายไฟ HDPE (High Density Polythylene) เป็น ท่อโพลีเอทิลีน ชนิดความหนาแน่นสูงสุด ท่อ HDPE หรือ ท่อ พีอี (PE) ผลิตจากวัสดุที่ชื่อว่า โพลีเอทิลีน ซึ่งเป็นวัสดุพลาสติกเชิงวิศวกรรม ที่นอกจากจะให้คุณสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีที่ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ดี ท่อร้อยสายไฟ HDPE สามารถที่จะใช้ประโยชน์ในงานท่อร้อยสายไฟฟ้า สามารถทนต่อแรงกระแทก และแรงกดทับที่เกิดจากการฝังกลบ มีความยืดหยุ่นสูง ไม่เกิดการแตกร้าวหรือหัก

  • ท่อร้อยสายไฟ HDPE (High Density Polythylene) สามารถหดตัวได้และปลอดภัยต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่ เช่น แผ่นดินไหว หรือ การทรุดตัวของพื้นที่ ป้องกันการเกิดกระแสไฟรั่วได้ดี สามารถเชื่อมกับสายอื่นได้เพียงสวมเข้าหากันแค่นั้นเอง ข้อได้เปรียบของท่อชนิดนี้ คือความอ่อนตัวจึงไม่ต้องดัดท่อทำให้เดินท่อได้สะดวกรวดเร็ว ขนาดของท่อ มีตั้งแต่ 1/2″ ขึ้นไป



นอกจากนี้ยังมีประเภทท่อโลหะอีกหลายรูปแบบชนิด ที่มีคุณสมบัติฝังคอนกรีตได้ เช่น

  • ท่อหนาพิเศษ หรือ ท่ออาร์เอสซี (RSC ; Rigid Steel Conduit) : ท่อ RSC ใช้เดินนอกอาคาร หรือฝังในผนัง-พื้นคอนกรีตได้ ขนาดท่อที่มีขายในท้องตลาดคือ 1/2″ , 3/4″ , 1″ , 1 1/4″ , 1 1/2″ , 2″ , 2 1/2″ , 3″ , 3 1/2″, 4″ ,5″ และ 6″ หน่วยเป็นนิ้ว

  • ท่อโลหะชนิดอ่อน (Flexible Metal Conduit) : ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีทั้งผิวภายนอกและภายใน เป็นท่อที่มีความอ่อนตัว โค้งงอไปมาได้ เหมาะสำหรับต่อเข้ากับดวงโคม มอเตอร์หรือเครื่องจักรกลที่มีการสั่นสะเทือน มีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 4″

  • ท่อโลหะชนิดอ่อนกันน้ำ (Raining Flexible Metal Conduit) : เป็นท่อโลหะอ่อนที่มีเปลือก PVC หุ้มด้านนอกเพื่อกันความชื้น ไม่ให้เข้าไปภายในท่อได้ ใช้งานในบริเวณที่ต้องการความอ่อนตัวของท่อเพื่อป้องกันสายไฟฟ้า ชำรุด จากไอของเหลวหรือของแข็งหรือในที่อันตราย ห้ามใช้ในบริเวณที่อุณหภูมิใช้งานของ สายไฟฟ้าสูงมากจนทำให้ท่อเสียหายมีขนาดตั้งแต่ 1/2″ – 4″


ถ้าคุณคือหนึ่งคนที่กำลังมองหา ท่อสายไฟฝังดิน ท่อร้อยสายไฟ HDPE ท่อ PE และอยากได้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ในทุกๆ การเลือกซื้อ ทีมงาน เอสเอพี โฮม เซ็นเตอร์ มีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้านคอยให้บริการ เพื่อตอบโจทย์ ทั้งความคุ้มค่าในคุณภาพการใช้งานและราคา สามารถเยี่ยมชมสินค้าและบทความต่างได้ที่ ข้อมูลด้านล่าง

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. : 085-567-1222, 092-775-9000, 02-876-1731
https://www.saphomecenter.com/
Email: saphomec@gmail.com
แฟ็กซ์
: 02-876-1733
LINE ID : @saphome

Visitors: 519,244