เทคนิคการดูแลซ่อมแซม ท่อ HDPE

เทคนิคการดูแลซ่อมแซม ท่อ HDPE

รวมเทคนิคควรรู้เกี่ยวกับการซ่อมแซมท่อ HDPE


ท่อ HDPE (High Density Polyethylene) หรือที่มักจะนิยมเรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ท่อ PE ถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์การช่างที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง หรือการนำมาใช้สำหรับการวางระบบงานไฟฟ้า งานประปา งานอุตสาหกรรมและเคมีภัณฑ์ งานบำบัดน้ำเสีย และงานด้านการเกษตรต่าง ๆ เป็นต้น เนื่องจากท่อเอชดีพีอีมีคุณสมบัติทางกายที่ดีในด้านของความแข็งแรง ทนทาน อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบา และมีความยืดหยุ่นตัวสูง จึงทำให้สามารถต้านทานต่อแรงกระแทกหรือบีบอัดที่เกิดขึ้นในระหว่างการติดตั้งหรือการใช้งานได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงคุณสมบัติของการทนทานต่อความเป็นกรด-ด่างได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ไม่ก่อให้เกิดสนิม หรือเกิดการผุกร่อนจนก่อให้เกิดความเสียหายได้

แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าท่อเอชดีพีอีจะมีความแข็งแรงและทนทานมากสักเพียงใด แต่ปัญหาด้านการแตกหักเสียหาย หรือการรั่วซึมของท่อเอชดีพีอี ที่เกิดขึ้นจากสภาวะแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ในระหว่างการใช้งานนั้น ก็ถือเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ผู้ใช้งานท่อ HDPE ไม่สามารถหลีกเลี่ยงไปได้เช่นกัน วันนี้เราจึงมีเทคนิคและวิธีการดี ๆ ที่จะช่วยซ่อมแซมดูแลท่อ HDPE เพื่อให้ท่อ HDPE มีอายุการใช้งานได้อย่างยาวนาน และสามารถใช้งานต่อเนื่องได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งาน มาฝากทุกคนกัน

การซ่อมแซมท่อ HDPE

ท่อ HDPE หรือท่อโพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง ถือเป็นท่อพลาสติกที่สามารถทำการซ่อมแซมได้ด้วยวิธีการที่ไม่แตกต่างไปจากการซ่อมแซมท่อพลาสติกชนิดอื่น ๆ มากนัก เนื่องจากเมื่อท่อ HDPE ถูกความร้อน โมเลกุลของโพลีเอทิลีนจะเริ่มละลายและเริ่มทำการเกาะติดกับโมเลกุลของโพลีเอทิลีนอื่น ๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบทางเคมีของพลาสติกที่ส่งผลต่อคุณสมบัติต่าง ๆ ของท่อ HDPE โดยวิธีในการซ่อมแซมท่อ HDPE ให้สามารถกลับมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเหมือนใหม่นั้น สามารถทำได้ดังนี้

1. ประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นกับท่อ HDPE

ในขั้นตอนของการประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นกับท่อเอชดีพีอี ถือเป็นขั้นตอนในลำดับแรกที่ช่างซ่อมบำรุงควรทำการตรวจสอบและลงมือประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นกับท่อเอชดีพีอีอย่างละเอียดถี่ถ้วน ด้วยการวัดความยาวของรอยแตกหรือรอยร้าวที่เกิดขึ้นบนท่อเอชดีพีอี หรือวัดขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางในกรณีที่พบรูแตกบนท่อ เพื่อการเตรียมความพร้อมสำหรับอุปกรณ์และวิธีในการซ่อมแซมท่อพีอีได้อย่างถูกวิธี เนื่องจากรูปแบบและขนาดของรอยแตกที่เกิดขึ้นบนท่อเอชดีพีอีนั้นจะส่งผลต่ออุปกรณ์และวิธีการซ่อมแซมที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น หากพบว่าท่อเอชดีพีอีเกิดรอยแตกหรือรอยร้าวขนาดเล็ก ซึ่งกินพื้นที่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของความยาว หรือความกว้างของท่อทั้งหมด จะสามารถทำการซ่อมแซมด้วยการใช้อุปกรณ์ Repair Clamp ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานเพื่อซ่อมแซมท่อเอชดีพีอีโดยเฉพาะได้ แต่ถ้าหากพบว่าท่อเอชดีพีอีเกิดรอยแตกหรือรอยร้าวที่มีความยาว หรือความกว้างมากกว่า 1 ใน 3 ของท่อทั้งหมด จะต้องทำการตัดท่อเอชดีพีอีในส่วนที่เสียหายออกแล้วทำการต่อประสานท่อใหม่

2. เริ่มต้นซ่อมแซมท่อ HDPE

หลังจากที่ได้ประเมินความเสียหายของท่อ HDPE เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการลงมือซ่อมแซมท่อเอชดีพีอีส่วนที่เกิดการแตกหักเสียหาย ซึ่งสามารถแบ่งวิธีในการซ่อมแซมท่อเอชดีพีอีออกได้เป็น 3 แบบ ดังนี้

  • การซ่อมท่อ HDPE ด้วยการใช้ Repair Clamp การซ่อมแซมท่อพีอีด้วยวิธีการใช้ Repair Clamp เป็นหนึ่งในวิธีการซ่อมแซมท่อที่มีข้อดีในเรื่องของความสะดวกสบาย และสามารถทำการซ่อมแซมท่อได้อย่างรวดเร็วกว่าการซ่อมแซมท่อด้วยวิธีการเชื่อมด้วยความร้อน แต่อย่างไรก็ตามการซ่อมแซมท่อด้วยการใช้ Repair Clamp นี้เองก็มีข้อจำกัดในเรื่องของการที่ไม่สามารถซ่อมแซมท่อที่มีรอยแตกหรือรอยร้าวขนาดใหญ่ได้ เพราะโดยทั่วไปแล้วการใช้ Repair Clamp ในการซ่อมแซมท่อจะเหมาะสำหรับท่อที่มีรอยแตกหรือรอยร้าวอยู่ที่ขนาดประมาณ 63 มม. - 315 มม. เท่านั้น โดย Repair Clamp ที่สามารถนำมาใช้งานเพื่อการซ่อมแซมท่อเอชดีพีอี สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ดังนี้

    • Repair Clamp แบบแสตนเลส มีราคาแพง แต่สามารถนำมาใช้ในการซ่อมแซมท่อ PE ได้ง่าย เนื่องจากมีคุณสมบัติที่สามารถยึดติดกับตัวท่อได้แน่นเป็นพิเศษ

    • Repair Clamp แบบเหล็กเหนียวเคลือบอีพ๊อกซี่ มีราคาปานกลาง สามารถนำมาใช้ซ่อมแซมท่อ PE ได้ง่ายเหมือนกับ Repair Clamp แบบแสตนเลส แต่จะมีอายุการใช้งานที่น้อยกว่า

    • Repair Clamp แบบท่อ HDPE มีราคาถูกที่สุด แต่สามารถนำมาใช้เพื่อซ่อมแซมท่อ PE ได้ยาก เพราะสามารถหลุดลื่นได้โดยง่าย

  • การซ่อมท่อ HDPE ด้วยการเชื่อมด้วยความร้อน การซ่อมแซมท่อเอชดีพีอีด้วยการเชื่อมด้วยความร้อน ถือเป็นวิธีการซ่อมแซมท่อที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหารอยแตกหรือรอยรั่วของท่อที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะใช้เทปพัน หรือใช้ Repair Clamp ในการซ่อมแซมท่อเอชดีพีอีได้ โดยการซ่อมแซมท่อเอชดีพีอีด้วยวิธีการเชื่อมท่อด้วยความร้อนนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องเชื่อมท่อที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการใช้ในการเชื่อมต่อท่อเอชดีพีอีโดยเฉพาะเท่านั้น ส่งผลให้การซ่อมแซมท่อเอชดีพีอีด้วยวิธีการนี้จึงมีข้อจำกัดที่สำคัญคือ บริเวณที่ต้องการจะซ่อมแซมท่อเอชดีพีอีจะต้องมีพื้นที่ที่กว้างและยาวมากเพียงพอ เพื่อให้สามารถทำการโน้มตัวท่อขึ้นมาทำการเชื่อมได้ในระยะของท่อที่ความยาวจำกัด

  • การซ่อมท่อ HDPE ด้วยการใช้เทปพันท่อ การซ่อมแซมท่อพีอีที่เสียหายด้วยการใช้เทปพันท่อในบริเวณที่เกิดการแตกหักเสียหาย ถือเป็นหนึ่งในทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการซ่อมแซมท่อเอชดีพีอีในสถานการณ์คับขัน เพื่อให้ท่อเอชดีพีอีสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด โดยวิธีการซ่อมแซมท่อเอชดีพีอีด้วยเทปพันท่อสามารถทำได้โดยการนำเทปไปพันรอบตัวท่อในบริเวณที่เกิดรอยรั่ว ซึ่งข้อควรระวังของการซ่อมแซมท่อเอชดีพีอีด้วยการใช้เทปพันท่อ คือ กาวของเทปพันท่อบางประเภทอาจเกิดการเสื่อมสภาพได้เมื่อต้องทำการสัมผัสกับบริเวณที่มีความชื้นเป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งอาจส่งผลให้การซ่อมแซมท่อเอชดีพีอีด้วยการใช้เทปพันท่อในระยะยาวนั้นไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร
 
 

      

  

3. ตรวจสอบประสิทธิภาพหลังจากการซ่อมแซมท่อ HDPE

หลังจากที่ทำการซ่อมแซมท่อ HDPE เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายของการซ่อมแซมท่อ HDPE คือ การตรวจสอบความเรียบร้อยของการซ่อมแซมว่ามีความเรียบร้อย และสามารถจัดการแก้ไขปัญหารอยแตกหรือรอยรั่วที่เกิดขึ้นทั้งหมดบนท่อ HDPE ได้ครบถ้วนหรือไม่ รวมไปถึงควรลงมือทำการตรวจสอบท่อในส่วนอื่น ๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับท่อ HDPE ที่ได้ทำการซ่อมแซมว่าเกิดความเสียหายซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการซ่อมแซมท่อในส่วนนี้หรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ท่อ HDPE ในส่วนอื่น ๆ เกิดความเสียหายที่อาจจะนำไปสู่การแตกหักหรือเสียที่รุนแรงได้ในอนาคต เพื่อให้ท่อ HDPE ทุกจุดสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานเต็มประสิทธิภาพ โดยที่ผู้ใช้งานท่อ HDPE จะได้ไม่ต้องสูญเสียเงินและเวลาไปการซ่อมแซมและบำรุงรักษาท่อ HDPE ก่อนถึงเวลาอันสมควรอีกเป็นครั้งที่สอง

สำหรับลูกค้าที่กำลังมองหาท่อ HDPE หรือ ท่อ PE ที่สามารถใช้ได้ทั้งงานบนดินและฝังใต้ดิน เพื่อใช้เป็นฉนวนสำหรับหุ้มป้องกันสายไฟฟ้า สายเคเบิล สายโทรศัพท์ และสายเคเบิลใยแก้ว

 

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. : 085-567-1222, 092-775-9000
https://www.saphomecenter.com/
Email: saphomec@gmail.com
แฟ็กซ์
: 02-876-1733
LINE ID : @saphome

Visitors: 519,108