ท่อพีอี เหมาะกับการนำไปใช้งานอะไรบ้าง ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นของท่อพีอี ทีมีความแข็งแรงทนทานต่อแรงกระแทกทั้งภายในและภายนอก ไม่เป็นสนิม ปราศจากสารเคมี ไม่ก่อให้เกิดสารมะเร็ง ทนทานต่อการกัดกร่อนของ สารเคมีได้หลายชนิด ท่อพีอี ยังมีน้ำหนักเบา สะดวกต่อการติดตั้งและขนย้าย การใช้งานของท่อพีอีมีมากกว่า 50 ปี เราสามารถเดินท่อพีอีในที่โล่งแจ้งกลางแสงแดดได้ เพราะเนื้อพลาสติกที่ใช้ผลิตท่อPE มีส่วนผสมของสารป้องกันแสง UV จึงทำให้ท่อPE ไม่แห้งกรอบ เมื่อโดนโดนแสงแดดนานๆ ท่อHDPE ยังมีความหยืดหยุ่นมาก สามารถดัดโค้งงอได้ตามลักษณะงาน ท่อHDPE ที่มีขนาดเล็กถึงปานกลางจะสามารถม้วนเป็นขดได้ 20-40 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางท่อ ดังนั้นท่อพีอี ท่อPE หรือท่อHDPE จึงมีคุณประโยชน์และนิยมนำไปใช้งานในด้านต่างๆดังนี้
ท่อพีอี สำหรับท่อน้ำดื่ม ท่อพีอีเป็นท่อส่งน้ำพลาสติกสีดำที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกพอลิเอทีลีน สำหรับผลิตท่อน้ำดื่ม มอก.2559-2554 โดยท่อHDPE ได้ผ่านกระบวนการผลิตและทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอก. 282-2556 ด้วยคุณสมบัติของท่อPE ที่มีความโดดเด่นด้านความแข็งแรง ทนทานต่อทุกสภาพแวดล้อม ทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมี ไม่เป็นสนิม ปราศจากสารก่อมะเร็ง โดยลักษณะของท่อHDPE มีผิวภายในท่อจะมีความเรียบมัน ทำให้เหมาะสำหรับการใช้เป็นท่อส่งน้ำประปาภายในบ้านเรือน หรือท่อส่งน้ำขนาดใหญ่ ท่อHDPE ถูกออกแบบได้เหมาะสำหรับการใช้งานทั้งภายในและภายนอกอาคาร เนื่องจากมีความหยืดหยุ่นทีดีและทนต่อสภาวะแวดล้อมได้ดีอีกด้วย จึงทำให้มั่นใจได้ว่าท่อPEสามารถนำมาเป็นท่อน้ำดื่มได้อย่างปลอดภัย มีความสะอาดสูงสุด ท่อพีอี สำหรับระบายน้ำเสีย น้ำทิ้ง ท่อพีอี มีผิวที่เรียบมัน มีความต้านทานต่ำ น้ำไหลผ่านได้ดี มีความเหนียว มีความยืดหยุ่นสูง ไม่เปราะแตกหักง่าย สามารถดัดโค้งงอได้ ทนทานต่อสารเคมี กรด ด่าง เกลือ มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย และมีอายุการใช้งานนานกว่า 50 ปี ท่อHDPE จึงเป็นที่นิยมนำมาใช้งานในระบบประปากันอย่างแพร่หลาย หนึ่งในการนำท่อPE มาใช้งานคือการนำมาเป็นท่อระบายน้ำและท่อน้ำเสีย ท่อพีอี สำหรับร้อยสายไฟ ท่อร้อยสายไฟ พีอี หรือ HDPE (High Density Polythylene) ท่อโพลีเอทิลีน ชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) หรือ ท่อพีอี ผลิตจากวัสดุโพลีเอทิลีนซึ่งเป็นวัสดุพลาสติกเชิงวิศวกรรมที่นอกจากให้คุณสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีที่ดีแล้วยังทำให้ตัวท่อนั้นมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ดีและยังสามารถใช้ประโยชน์ในงานท่อร้อยสายไฟฟ้าอีกทั้งวัสดุโพลีเอทีลีนที่มีคุณภาพและความสะอาดสูง ต้านเปลวไฟ มีความแข็งแรงสูงยืดหยุ่นตัวได้ดี ใช้ในการเดินสายบนผิวในที่โล่ง,งานร้อยสายไฟบนดิน งานฝังในใต้ดิน บนฝ้าในตัวอาคาร, เดินสายใต้ดินทั้งยังแรงดันต่ำและ แถมแรงดันสูงปานกลางทนต่อแรงกดอัดได้ดีอีก ข้อได้เปรียบของท่อพีอีชนิดนี้ คือความอ่อนตัวจึงไม่ต้องดัดท่อ จึงทำให้การเดินท่อทำได้สะดวกรวดเร็ว เพราะเหตุนี้ท่อพีอีจึงเหมาะสำหรับงานร้อยสายไฟ สายโทรศัพท์ สายไฟเบอร์ออฟติก
- คุณสมบัติของท่อพีอี ร้อยสายไฟ
ท่อ HDPE PE ร้อยสายไฟฟ้าจะคาดแถบสีส้มบนผิวด้านนอกของท่อพีอี เพื่อแยกประเภทการใช้งาน สะดวกแถมยังปลอดภัยต่อการซ่อมบำรุงท่อท่อHDPE PE ร้อยสายไฟมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเริ่มตั้งแต่ 32มม. จนไปถึง 160มม. ความยาวมาตรฐานของท่อพีอี ท่อนละ 6 เมตร หรือท่อพีอี ขนาด 32-110 มม. (CLASS I) สามารถม้วนเป็นขดได้ยาวม้วนละ 50 หรือ 100 เมตร น้ำหนักเบา สะดวกต่อการขนส่ง ประหยัดจุดเชื่อมต่อและเวลาการติดตั้ง ท่อHDPE PE ทำจากวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าทำให้เราเชื่อมั่นได้ว่าท่อพีอี ที่ใช้ร้อยสายไฟฟ้า ปลอดภัยต่อการที่จะเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว ท่อHDPE PE สามารถทนทานต่อสภาพความเป็นกรดและด่าง ของดินได้เป็นอย่าดีไม่ทำให้เกิดเป็นสนิมหรือผุกร่อน สำหรับท่อพีอี ที่ฝังใต้ดิน ทำให้อายุการใช้งานยาวนานมากขึ้น ท่อHDPE PE สามารถทนได้ต่อแรงกระแทก และแรงกดทับที่อาจจะเกิดจากการฝังกลบ มีความยืดหยุ่นตัวได้สูง ไม่เกิดการแตกร้าวหรือหักของตัวท่อ สามารถหดตัวได้และยังปลอดภัยต่อการเปลี่ยนแปลงของ สภาพพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหว หรือแม้กระทั่ง การทรุดตัวของพื้นที่ เป็นต้น ท่อ HDPE PE ร้อยสายไฟสามารถเชื่อมต่อกับข้อต่อได้สะดวก เพียงแค่สวมข้อต่อเข้ากับท่อเท่านั้น
ท่อพีอี สำหรับลำเลียงสารเคมี และ ก๊าซ จากความสามารถของท่อพีอีคือการทนทานต่อสารเคมีที่รุนแรง โดยไม่สึกกร่อนและรั่วไหล มีความแข็งแรง ซึ่งเม็ดพลาสติกพอลีเอทีลีนที่ใช้ผลิตท่อHDPE ได้รับการยกย่องว่าเป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมในการส่งก๊าซและสารเคมี ดังนั้นท่อPE จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมในการลำเลียงสารเคมีและก๊าซอย่างมีประสิทธิภาพ
ท่อพีอี สำหรับงานชลประทาน
ท่อพีอี สำหรับงานเกษตรกรรม
การติดตั้งท่อพีอี ท่อHDPE ท่อPE
การต่อท่อพีอีนั้นทำได้2วิธี วิธีแรกคือ การต่อท่อด้วยข้อต่อแบบ สวมอัด(Compression) จะสามารถต่อท่อตั้งแต่ขนาด20-110มม.โดยข้อต่อจะใช้การสวมอัดและขันเกลียวให้แน่น โดยไม่ต้องใช้กาว วิธีที่2 คือการเชื่อมท่อด้วยความร้อน ซึ่งเป็นเทคนิคการให้ความร้อนกับท่อ ที่จะทำการเชื่อมพร้อมๆกันทั้งสองด้าน ของชิ้นงานจนพลาสติกที่หลอมมาสัมผัสกัน ที่บริเวณผิวแต่ละด้าน การได้รับความร้อนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ นั้นทำให้ผิวของท่อเกิดการหลอมละลาย ทำให้ผนังหลอมเหลว และรวมเป็นเนื้อเดียวกัน
ข้อต่อท่อ HDPE แบบสวมล็อค (COMPRESSION) การต่อโดยใช้ข้อต่อแบบสวมล็อค (Compression) ที่ถูกออกแบบมาสำหรับท่อขนาดตั้งแต่ 20-110 mm. ซึ่งข้อต่อแบบสวมล็อค (Compression) สาทารถทนแรงดันการใช้งาน ในการส่งน้ำสูงสุดถึง 10 บาร์ โดยมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้ คอมเพลสชั่น(สวมล็อค) อุปกรณ์ข้อต่อสำหรับท่อ PE ผลิตจากวัตถุดิบ เกรดA ใช้สำหรับผลิตท่อน้ำโดยเฉพาะ โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ทันสมัย มีระบบควบคุมคุณภาพ ตามมาตรฐาน ที่กำหนดทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การทดสอบคุณสมบัติของวัตถุดิบ และ ทดสอบตามมาตรฐาน ข้อต่อท่อระบบสวมอัด (Compession) สามารถต่อท่อขนาดตั้งแต่ 1/2-4" (นิ้ว) เหมาะกับงานสวน หรือท่อน้ำประปาเข้าบ้านเอง
วิธีการต่อท่อด้วยข้อต่อแบบสวมอัด (Compression)
1. คลายฝาเกลียวออกประมาณ 3-4 เกลียว เพื่อให้แหวนจับคลายออกเต็มที่ 2.วัดระยะ และทำเครื่องหมาย โดยเทียบวัดจากเส้นความลึกบน ข้อต่อแบบสวมอัด (Compression) เพื่อกำหนดระยะความลึกของท่อ เมื่อสอดเขาไปในข้อต่อ 3.สวมท่อที่ทำการวัดระยะเข้าไปให้สุด ตามที่ทำเครื่องหมายไว้ 4.ขันฝาแคปด้วยประแจแค็ปเข้าไปจนสุดเกลียว เพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้นว่าการต่อท่อเป็นไปได้อย่างถูกต้อง
ข้อต่อท่อ HDPE แบบเชื่อมชน (BUTT FUSION)
เป็นกระบวนการเชื่อมด้วยความร้อน ที่ปลายท่อทั้งสองด้าน โดยการใช้แผ่นความร้อนในการทำดวามร้อน ทำให้ท่อเชื่อมต่อกันแบบถาวร อีกทั้งยังเป็นวิธีการที่ประหยัด และทำให้ของเหลวไหลผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยจะนำปลายท่อทั้งสองด้านมาเชื่อมต่อกัน ภายใต้ความดัน และทิ้งไว้ให้เย็นในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งข้อต่อที่ได้จะสามารถทนต่อแรงดันที่ปลายท่อ ได้เชื่อมต่อชนด้วยความร้อน เหมาะกับงานแรงดันสูงงานโครงการ ,อุตสาหกรรมท่อขนาดใหญ่
วิธีการติดตั้งแบบเชื่อมชน (Butt Fusion) การเชื่อมท่อ HDPE แบบเชื่อมชน (Butt Fusion) แนวเชื่อมที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยสิ่งสำคัญดังนี้อุณหภูมิขณะเชื่อมจะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง 205 ถึง 220 องศาผิวหน้าท่อต้องสะอาด ปราศจากคราบไขมัน สิ่งสกปรกต่างๆ แก้ไขได้โดยอาศัย แอลกอฮอล์ ชุบสำลีทำความสะอาด ห้ามใช้ทินเนอร์โดยเด็ดขาด เนื่องจากไปกัดกับผิวหน้าของแผ่นความร้อน แนวท่อที่จะเชื่อมต้องอยู่ในแนวเดียวกัน เยื้องศูนย์กัน ไม่เกิน 10% ของความหนาท่อ แรงดัน ในขณะเชื่อมชน จะต้องเหมาะสม เพื่อจะได้แนวเชื่อมที่สมบูรณ์ โดยสังเกตุจากแนวตะเข็บที่ม้วน มีค่าเท่ากับความหนาของท่อ โดยประมาณเครื่องปั่นไฟสนามจะต้องใช้ ให้เหมาะสมกับเครื่องเชื่อมแต่ละขนาด หากกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอจะทำให้ เครื่องควบคุมดาต้าล็อคเกอร์ (data logger)เสียหายได้
|