เทคนิคการเชื่อมต่อท่อ PPR กับท่อประเภทอื่น ๆ

เทคนิคการเชื่อมต่อท่อ PPR กับท่อประเภทอื่น ๆ

คุณสมบัติของท่อ PPR ที่ควรรู้

ท่อ PPR

             น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ ในสมัยก่อน หากต้องการจะใช้น้ำ ต้องเดินไปตักน้ำที่ลำธารกลับมาใช้ที่บ้าน แต่ในปัจจุบันนี้ เราไม่จำเป็นต้องเดินไปลำธารตักน้ำมาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เพียงแค่เปิดก๊อกน้ำ ก็มีน้ำไหลออกมาให้ได้ใช้ประโยชน์กัน แล้วเคยมีคำถามเกิดขึ้นหรือไม่ว่า ท่อที่ใช้ส่งน้ำประปามันทำจากอะไร สะอาดหรือไม่ วันนี้ เราจะมาไขข้อข้องใจให้ได้ทราบกัน 

ท่อส่งน้ำประปามีทั้งหมดกี่ประเภท

ท่อประปา คือ ท่อสำหรับทำหน้าที่ส่งน้ำจากแหล่งกำเนิด เช่น เขื่อน สูบขึ้นมาและจ่ายไปยังพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน สำนักงาน โรงเรียน สถานพยาบาล พื้นที่การเกษตร ฯลฯ โดยปกติแล้ว ท่อน้ำที่ใช้จะมีขนาดมาตรฐานคือ 3/4-1 นิ้ว แบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 5 ประเภท ดังนี้

  1. ท่อ PVC
    ท่อ PVC หรือ Poly Vinyl Chloride มีทั้งหมด 3 สี แต่ละสีมีการใช้งานที่แตกต่างกัน
    • สีเหลือง จะมีความทนทานต่อความร้อนได้เป็นอย่างดี จึงนิยมนำมาใช้งานร้อยสายไฟ สายโทรศัพท์
    • สีฟ้า เป็นท่อสำหรับใช้กับระบบทั้งน้ำดีและน้ำเสีย มีหลายเกรด แต่ละเกรดจะสามารถทนแรงดันน้ำได้ไม่เท่ากัน
    • สีเทา เป็นท่อที่มีราคาถูกที่สุดในบรรดา 3 สี นิยมนำมาใช้ในงานเกษตร ท่อน้ำทิ้ง ข้อเสียคือ ไม่ทน และไม่เหมาะกับการฝังลงไปในดิน

  2. ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี
    ท่อประเภทนี้เรียกอีกอย่างว่า ท่อประปากัลวาไนซ์ หรือท่อแป๊บ ทำจากเหล็กกล้าที่เคลือบสังกะสี สามารถทำเป็นเกลียวได้ง่าย ข้อดีของท่อประเภทนี้ คือ ทนต่อสนิม มีความแข็งแรงสูง ทนต่อแรงกระแทกและสามารถรับน้ำหนักได้ดี ทนต่อความดันและความร้อนสูงๆ ได้ นิยมใช้คู่กับเครื่องทำน้ำร้อน ท่อจะมีหลายสีคาดไว้ที่ตัวท่อ แต่ละสีจะมีความหนาไม่เหมือนกัน
    • คาดเหลือง 10-100 มม. หนา 2-3.6 มม.
    • คาดน้ำเงิน 15-150 มม. หนา 2.6-5 มม.
    • คาดแดง 15-150 มม. หนา 3.2-5.4 มม.
    • คาดเขียว 65-200 มม. หนา 5.2-8.2 มม.

  3. ท่อไซเลอร์
    ท่อไซเลอร์มีความผสมระหว่าท่อเหล็ก GSP กับ PE โดย GSP จะเป็นท่อเหล็กภายนอก ส่วน PE จะเป็นท่อเหล็กด้านใน มีความแข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้ดี ทนต่อแรงกระแทก ไม่หัก ไม่งอ ทนต่อความดันได้สูงมากกว่า 20 บาร์ และทนความร้อนได้ถึง 90 องศาเซลเซียส ไม่เป็นสนิม เหมาะกับงานติดตั้งในโรงแรม องค์กรขนาดใหญ่ ที่ๆ ต้องใช้วัสดุทนความร้อนสูงๆ ท่อไซเลอร์มีราคาแพงกว่าท่อประเภทอื่นๆ

  4. ท่อพีพีอาร์ (ท่อ PPR)
    ท่อพีพีอาร์ หรือ Polypropylene Random Copolymer ผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง มีลักษณะเป็นท่อสีเขียว ถูกคิดค้นได้จากชาวเยอรมันที่พัฒนาจากเม็ดพลาสติกโพลีโพรไพลีนที่ทั่วโลกต่างนิยมใช้ ท่อ PPR ถูกใช้ครั้งแรกสำหรับระบบประปาและระบบทำความร้อนแบบไฮโดรลิกในปีก 1980 ในประเทศแถบยุโรป และได้มีการเปิดตัวในอเมริกาเหนือในปี 2000 เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรม อาคารสูงๆ บ้าน มักนิยมใช้ในงานระบบท่อประปา ท่อน้ำร้อน-เย็น

  5. ท่อ HDPE
    ท่อ HDPE หรือ ท่อ PE เป็นท่อที่ผลิตมาจาก โพลิเอทิลีน ชนิดที่มีความหนาแน่นสูง ซึ่งในสารโพลิเอทิลีนก็คือเม็ดพลาสติกที่ผลิตมาจากสารตั้งต้น เป็นผลผลิตจากปิโตเลี่ยม สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ชนิด ได้แก่ - ชนิดที่มีความหนาแน่นต่ำ - มักจะใช้ทำถุงพลาสติก ภาชนะบรรจุอาหาร
    ชนิดที่มีความหนาแน่นสูง - มักนิยมใช้ผลิตเป็นท่อที่ใช้สำหรับสารเคมี คือมีความทนทานต่อสารเคมี ท่อส่งก๊าซ หรือท่อร้อยสายไฟต่างๆ หรือท่อประปาที่มีแรงดันน้ำสูง 

      

ข้อดีของท่อ PPR

  • สะอาด ถูกสุขอนามัย
  • ไร้กลิ่น ไร้รสชาติ
  • ทนต่อสารเคมี
  • ทนต่อการกัดกร่อน
  • ทนทานต่อสารคอลรีนและคลอรามีน
  • ราคาเหมาะสมเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆ เช่น ท่อโลหะ
  • น้ำหนักเบา
  • มีค่าการนำความร้อนต่ำ

ข้อดีหลักๆ ของ ท่อ PPR นี้ทำให้เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับใช้ในงานระบบท่อส่งน้ำประปา น้ำที่ถูกส่งจากท่อพีพีอาร์นี้มั่นใจได้ว่า สะอาด ถูกสุขอนามัยต่อผู้บริโภค

ท่อ PPR ยังนิยมนำมาเชื่อมต่อกับท่ออื่นๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันได้อีกด้วย เรามาดูกันต่อว่าท่อพีพีอาร์สามารถนำไปเชื่อมต่อกับท่ออะไรได้บ้างและมีวิธีการหรือเทคนิคการเชื่อมต่ออย่างไร

ท่อพีพีอาร์สามารถนำไปเชื่อมต่อเข้ากับท่อประเภทอื่นๆ ได้ เช่น เชื่อมต่อกับท่อ PVC หรือสุขภณฑ์ต่างๆมีวิธีการเชื่อมต่อดังนี้

  1. เชื่อมต่อด้วยวิธีการใช้ความร้อนในการหลอมละลาย - เป็นการเชื่อมต่อท่อพีพีอาร์กับท่อพีพีอาร์โดยใช้ความร้อนหลอมละลาย
  2. เชื่อมต่อแบบระบบเกลียว - เป็นการเชื่อมต่อแบใช้เกลียวด้านหนึ่งเป็นโลหะ ส่วนอีกด้านเป็นท่อพีพีอาร์ มักใช้กับท่อพีวีซีหรือเชื่อมต่อกับสุขภัณฑ์ต่างๆ
  3. เชื่อมต่อแบบหน้าแปลนหรือหน้าจาน - ใช้ข้อต่อเป็นวัสดุท่อพีพีอาร์ ด้านหนึ่งเป็นการเชื่อมโดยใช้ความร้อนหลอมกับตัวแปลนหน้าจานส่วนอีกด้านเป็นแปลนเหล็กหรือเเปลนพีวีซี เหมาะกับการเชื่อมต่อท่อข้ามประเภทที่มีขนาดใหญ่ เช่น ต่อท่อพีพีอาร์เข้ากับท่อเหล็กเป็นต้น 

ข้อควรระวังในการเชื่อมต่อท่อ PPR กับท่ออื่นๆ

  1. ตรวจสอบความปลอดภัยต่างๆ - การจะเชื่อมท่อพีพีอาร์นั้นจำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการเชื่อม ผู้ที่ทำการเชื่อมต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
  2. ต้องมีความชำนาญและเชี่ยวชาญ - จำเป็นอย่างมากที่ต้องให้ความรู้และฝึกอบรมอยู่เป็นประจำกับช่างหรือทีมงานให้มีความเชี่ยวชาญ วิธีการเปิดเครื่องเชื่อม การใช้งานที่ถูกต้อง การทำความสะอาดหลังการใช้งาน และสิ่งที่ควรรู้กรณีเกิดความผิดปกติว่าต้องแก้ไขอย่างไร
  3. ระมัดระวังในการใช้เครื่องมือ - เครื่องเชื่อมเมื่อถูกใช้งานจะมีความร้อน แม้หยุดการใช้งานแล้วแต่เครื่องก็จะยังมีความร้อนอยู่ ควรตรวจสอบให้เเน่ใจทุกครั้งหลังการใช้งานว่าได้วางอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากความร้อนของเครื่องเชื่อม
  4. ทำความสะอาดบริเวณที่ต้องใช้งาน - ก่อนหรือหลังการใช้งาน ควรทำความสะอาดบริเวณที่ใช้งานเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดไฟไหม้ เกิดความเสียหายของท่อพีพีอาร์
  5. สวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้ง - ก่อนการทำงานควรสวมอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม (ชุดPPE แขนยาว) เพื่อเลี่ยงการสัมผัสกับพื้นผิวที่ร้อนจัด พลาสติกหรือเศษผงในอากาศ ควรสวมถุงมือ และแว่นตาสำหรับป้องกันก่อนการทำงานทุกครั้ง

การเชื่อมต่อท่อ PPR กับท่ออื่นๆ เพื่องานเดินระบบประปานั้นจำเป็นต้องใช้ช่างหรือผู้เชี่ยวชาญในการวางระบบ หจก. เอสเอพี โฮม เซ็นเตอร์ เราเป็นผู้จัดจำหน่ายท่อน้ำ อุปกรณ์ประปา ระบบน้ำดี-น้ำเสีย ระบบประปาเพื่อการเกษตร ฯลฯ สินค้าทุกชิ้นผ่านการรองรับตามมาตรฐาน มอก. มีคุณภาพสูง ราคาถูก มีทั้งขายปลีกและส่ง สามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดหรือปรึกษางานวางระบบประปาเราได้ที่เบอร์ 02-876-1731 หรือเข้าไปดูสินค้าของเรา พร้อมโปรโมชั่นต่างๆ ได้ที่ www.saphomecenter.com

การเลือกวัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะกับงาน และรู้วิธีที่ถูกต้องในการใช้อุปกรณ์หรือวัสดุนั้นๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานนั้นให้ออกมาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น หากไม่แน่ใจควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายและสิ้นเปลืองเงินโดยใช่เหตุ

สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. : 085-567-1222, 092-775-9000
https://www.saphomecenter.com/
Email: saphomec@gmail.com
แฟ็กซ์
: 02-876-1733
LINE ID : @saphome

Visitors: 519,464