วิธีการคำนวณความดันก่อนการเชื่อมท่อ HDPE ท่อ PE
ท่อ HDPE (High Density Polyethylene) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ท่อ PE คือท่อที่นิยมนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้ในงานก่อสร้างต่างๆ เช่น ใช้ในระบบงานประปา ระบบไฟฟ้า งานอุตสาหกรรม หรืองานบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น เนื่องจากคุณสมบัติของท่อนั้นมีความแข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา ยืดหยุ่นสูง และมีคุณสมบัติที่ทนทานต่อความเป็นกรด-ด่างได้เป็นอย่างดี ทำให้มีการใช้งานได้ค่อนข้างนานเพราะไม่เกิดการผุกร่อนหรือเกิดสนิมง่าย
ท่อ HDPE นั้นเป็นท่อโพลีเอทิลีนที่มีค่าความหนาแน่นสูง ยังใช้ในการขนส่งสิ่งของตั้งแต่น้ำ ไปจนถึงก๊าซธรรมชาติ แต่ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานเหล่านี้ทำให้มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับท่อชนิดอื่นๆ เช่น ท่อ PVC โดยการใช้งานของท่อ HDPE หรือท่อ PE นั้น มักจะใช้งานใต้ดินและมีอัตราการไหลสูง และสามารถใช้กับงานระบบขนาดเล็กได้ด้วย เช่น อาคารก่อสร้างที่มีขนาดเล็กอย่าง ที่พักอาศัย โรงเรียน อาคารสำนักงานทั่วไป และจะใช้กับงานอุตสาหกรรมเพื่อวางระบบต่างๆ ทำให้การใช้งานต้องมีการเชื่อมต่อท่อเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมเพื่อให้ท่อมีความแข็งแรงและทนต่อแรงดันจากการใช้งานต่างๆ ได้ดี โดยการเชื่อมต่อท่อ HDPE มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น การเชื่อมชน, การเชื่อมด้วยความร้อน, การขึ้นปีกและการใช้ข้อต่อเชิงกล
การเชื่อมต่อท่อ HDPE ท่อ PE
ในการเชื่อมต่อนั้นมีความสำคัญมาก จะใช้เครื่องจักรกลเฉพาะในการเชื่อม ซึ่งโดยปกติจะมีอุปกรณ์ดังนี้
- ตัวเครื่องพร้อมแท่นรองรับ
- แผ่นที่ใช้สำหรับการปาดหน้าท่อให้ได้ฉาก
- ที่จับยึดท่อ
- เครื่องอัดแรงดัน
- แผ่นความร้อน
การเชื่อมต่อท่อ HDPE ท่อ PE มีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องคำนวณให้ดีก่อนการเชื่อมต่อ คือ
- อุณหภูมิ
- แรงดัน
- เวลา
- ความสะอาด
- ความเรียบ
ซึ่งในวันนี้จะมาอธิบายการคำนวณความดันการก่อนการเชื่อมท่อเพื่อให้หน้างานมีความแม่นยำและไม่เกิดปัญหาในภายหลัง
วิธีการคำนวณความดันก่อนการเชื่อมท่อ HDPE, ท่อ PE
ท่อ HDPE หรือท่อ PE ที่มีการใช้งานวางระบบต่างๆ จึงต้องมีการคำนวณความดันก่อนการเชื่อมท่อเพื่อให้งานวางระบบไม่เกิดปัญหาดังกล่าว วิธีการคำนวณความดันหรือแรงดันที่เหมาะสม ดังนี้
แรงดันของท่อที่ใช้ จะอยู่ที่ 0.15 N/mm2 ซึ่งขึ้นอยู่กับความหนาของท่อแบบไม่รวมแรงลากท่อ โดยแรงดันแบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ
- ความดันดันลากท่อ (DF) คือแรงดันที่ตั้งค่าแบบเริ่มต้นเพื่อให้เครื่องสามารถลากท่อไปได้จากสะดวกขึ้น ไม่หนักหรือหน่วงจนเกินไป
- ความดันที่ใช้สร้างตะเข็บหน้าสัมผัสท่อ (P1, บาร์) จะคำนวณความดันก่อนเชื่อมท่อ HDPE โดยใช้ค่ามาตรฐาน DVS 2207-1 โดยค่าที่กำหนดไว้คือ 0.15+0.0.1 M/mm2 คูณกับพื้นที่หน้าตัดของท่อ HDPE (A1) หารด้วยค่าพื้นที่หน้าตัดของกระบอกไฮดรอลิกส์ (A2)
- ความดันเชื่อมประสาน (P3, บาร์) จะเท่ากับ (P1,บาร์) โดยใช้ค่ามาตรฐาน DVS 2207-1 โดยที่กำหนดไว้คือ 0.15+0.01 M/mm2 คูณด้วยพื้นที่หน้าตัดของท่อ HDPE (A1) หารด้วยค่าพื้นที่หน้าตัดของกระบอกไฮดรอลิกส์ (A2)
- ความดันแช่ (P2, บาร์) จะใช้ค่ามาตรฐานในการเชื่อมท่อ HDPE คือ DVS 2207-1 โดยค่าที่กำหนดไว้คือ 0.2 คูณด้วยพื้นที่หน้าตัดของท่อ HDPE (A1) หารด้วยค่าพื้นที่หน้าตัดของกระบอกไฮดรอลิกส์ (A2)
การคำนวณความดันก่อนการเชื่อมท่อรวมนั้น ต้องคำนึงร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ที่ใช้ในการเชื่อมท่อ HDPE ท่อ PE ไปด้วยกัน เช่น อุณหภูมิที่ใช้ในการเชื่อมท่อจะต้องสูงมากๆ สูงกว่าจุดหลอมละลาย อย่างอุณหภูมิที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 200-220 องศาเซลเซียส เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้ค่าในการคำนวณต่างๆ จะแปรผันไปตามความหนาของท่อ HDPE เช่นกัน โดยหลังจากการเชื่อมท่อแล้วควรทำการทดสอบประสิทธิภาพท่อ HDPE ท่อ PE เพื่อการใช้งานที่จะไม่เกิดปัญหาภายหลังและการวางระบบที่ปลอดภัย
เอสเอพี โฮม เซนเตอร์ ศูนย์รวมท่อ HDPE ท่อ PE รวมถึงท่อร้อยสายไฟต่างๆ และอุปกรณ์สำหรับงานโครงสร้างทุกชนิด มีการรับรองคุณภาพที่ได้มาตรฐาน มอก. ผลิตโดยเครื่องจักรที่ทันสมัย พร้อมบริการรวดเร็วทันใจเพื่อให้คุณภาพของงานวางระบบในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ออกมาได้คุณภาพมากที่สุด
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอสเอพี โฮม เซนเตอร์
SAP HOME CENTER LTD., PART.
www.saphomecenter.com
13/284 ถนนริมคลองบางค้อ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
โทร. : 085-567-1222, 092-775-9000
Email: saphomec@gmail.com
แฟ็กซ์ : 02-876-1733
LINE ID : @saphome