วิธีการคำนวณความดันก่อนการเชื่อมท่อ HDPE ท่อ PE

วิธีการคำนวณความดันก่อนการเชื่อมท่อ HDPE ท่อ PE

เทคนิคการคำนวณการใช้งานของท่อ HDPE ท่อ PE

ท่อ HDPE


ท่อ HDPE (High Density Polyethylene) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ท่อ PE คือท่อที่นิยมนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้ในงานก่อสร้างต่างๆ เช่น ใช้ในระบบงานประปา ระบบไฟฟ้า งานอุตสาหกรรม หรืองานบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น เนื่องจากคุณสมบัติของท่อนั้นมีความแข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา ยืดหยุ่นสูง และมีคุณสมบัติที่ทนทานต่อความเป็นกรด-ด่างได้เป็นอย่างดี ทำให้มีการใช้งานได้ค่อนข้างนานเพราะไม่เกิดการผุกร่อนหรือเกิดสนิมง่าย


ท่อ HDPE นั้นเป็นท่อโพลีเอทิลีนที่มีค่าความหนาแน่นสูง ยังใช้ในการขนส่งสิ่งของตั้งแต่น้ำ ไปจนถึงก๊าซธรรมชาติ แต่ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานเหล่านี้ทำให้มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับท่อชนิดอื่นๆ เช่น ท่อ PVC โดยการใช้งานของท่อ HDPE หรือท่อ PE นั้น มักจะใช้งานใต้ดินและมีอัตราการไหลสูง และสามารถใช้กับงานระบบขนาดเล็กได้ด้วย เช่น อาคารก่อสร้างที่มีขนาดเล็กอย่าง ที่พักอาศัย โรงเรียน อาคารสำนักงานทั่วไป และจะใช้กับงานอุตสาหกรรมเพื่อวางระบบต่างๆ ทำให้การใช้งานต้องมีการเชื่อมต่อท่อเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมเพื่อให้ท่อมีความแข็งแรงและทนต่อแรงดันจากการใช้งานต่างๆ ได้ดี โดยการเชื่อมต่อท่อ HDPE มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น การเชื่อมชน, การเชื่อมด้วยความร้อน, การขึ้นปีกและการใช้ข้อต่อเชิงกล

การเชื่อมต่อท่อ HDPE ท่อ PE

ในการเชื่อมต่อนั้นมีความสำคัญมาก จะใช้เครื่องจักรกลเฉพาะในการเชื่อม ซึ่งโดยปกติจะมีอุปกรณ์ดังนี้

  • ตัวเครื่องพร้อมแท่นรองรับ
  • แผ่นที่ใช้สำหรับการปาดหน้าท่อให้ได้ฉาก
  • ที่จับยึดท่อ
  • เครื่องอัดแรงดัน
  • แผ่นความร้อน

การเชื่อมต่อท่อ HDPE ท่อ PE มีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องคำนวณให้ดีก่อนการเชื่อมต่อ คือ

  1. อุณหภูมิ
  2. แรงดัน
  3. เวลา
  4. ความสะอาด
  5. ความเรียบ

ซึ่งในวันนี้จะมาอธิบายการคำนวณความดันการก่อนการเชื่อมท่อเพื่อให้หน้างานมีความแม่นยำและไม่เกิดปัญหาในภายหลัง

วิธีการคำนวณความดันก่อนการเชื่อมท่อ HDPEท่อ PE

ท่อ HDPE หรือท่อ PE ที่มีการใช้งานวางระบบต่างๆ จึงต้องมีการคำนวณความดันก่อนการเชื่อมท่อเพื่อให้งานวางระบบไม่เกิดปัญหาดังกล่าว วิธีการคำนวณความดันหรือแรงดันที่เหมาะสม ดังนี้

แรงดันของท่อที่ใช้ จะอยู่ที่ 0.15 N/mm2 ซึ่งขึ้นอยู่กับความหนาของท่อแบบไม่รวมแรงลากท่อ โดยแรงดันแบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ

  1. ความดันดันลากท่อ (DF) คือแรงดันที่ตั้งค่าแบบเริ่มต้นเพื่อให้เครื่องสามารถลากท่อไปได้จากสะดวกขึ้น ไม่หนักหรือหน่วงจนเกินไป
  2. ความดันที่ใช้สร้างตะเข็บหน้าสัมผัสท่อ (P1, บาร์) จะคำนวณความดันก่อนเชื่อมท่อ HDPE โดยใช้ค่ามาตรฐาน DVS 2207-1 โดยค่าที่กำหนดไว้คือ 0.15+0.0.1 M/mm2 คูณกับพื้นที่หน้าตัดของท่อ HDPE (A1) หารด้วยค่าพื้นที่หน้าตัดของกระบอกไฮดรอลิกส์ (A2)
  3. ความดันเชื่อมประสาน (P3, บาร์) จะเท่ากับ (P1,บาร์) โดยใช้ค่ามาตรฐาน DVS 2207-1 โดยที่กำหนดไว้คือ 0.15+0.01 M/mm2 คูณด้วยพื้นที่หน้าตัดของท่อ HDPE (A1) หารด้วยค่าพื้นที่หน้าตัดของกระบอกไฮดรอลิกส์ (A2)
  4. ความดันแช่ (P2, บาร์) จะใช้ค่ามาตรฐานในการเชื่อมท่อ HDPE คือ DVS 2207-1 โดยค่าที่กำหนดไว้คือ 0.2 คูณด้วยพื้นที่หน้าตัดของท่อ HDPE (A1) หารด้วยค่าพื้นที่หน้าตัดของกระบอกไฮดรอลิกส์ (A2)


การคำนวณความดันก่อนการเชื่อมท่อรวมนั้น ต้องคำนึงร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ที่ใช้ในการเชื่อมท่อ HDPE ท่อ PE ไปด้วยกัน เช่น อุณหภูมิที่ใช้ในการเชื่อมท่อจะต้องสูงมากๆ สูงกว่าจุดหลอมละลาย อย่างอุณหภูมิที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 200-220 องศาเซลเซียส เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้ค่าในการคำนวณต่างๆ จะแปรผันไปตามความหนาของท่อ HDPE เช่นกัน โดยหลังจากการเชื่อมท่อแล้วควรทำการทดสอบประสิทธิภาพท่อ HDPE ท่อ PE เพื่อการใช้งานที่จะไม่เกิดปัญหาภายหลังและการวางระบบที่ปลอดภัย


เอสเอพี โฮม เซนเตอร์ ศูนย์รวมท่อ HDPE ท่อ PE รวมถึงท่อร้อยสายไฟต่างๆ และอุปกรณ์สำหรับงานโครงสร้างทุกชนิด มีการรับรองคุณภาพที่ได้มาตรฐาน มอก. ผลิตโดยเครื่องจักรที่ทันสมัย พร้อมบริการรวดเร็วทันใจเพื่อให้คุณภาพของงานวางระบบในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ออกมาได้คุณภาพมากที่สุด


ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอสเอพี โฮม เซนเตอร์
SAP HOME CENTER LTD., PART.
www.saphomecenter.com
13/284 ถนนริมคลองบางค้อ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150

โทร. : 085-567-1222, 092-775-9000 
Email: saphomec@gmail.com
แฟ็กซ์
: 02-876-1733
LINE ID : @saphome

Visitors: 519,025