ท่อเอชดีพีอี ใช้งานอย่างไร เหมาะกับสถานที่ไหน มือใหม่ต้องดู

ท่อเอชดีพีอี ใช้งานอย่างไร เหมาะกับสถานที่ไหน มือใหม่ต้องดู

มือใหม่เลือกใช้งานท่อเอชดีพีอี, ท่อพีอี, ท่อ PPR, ท่อ PVC อย่างไรให้เหมาะสมกับสถานที่

ท่อเอชดีพีอี

ในปัจจุบันมีท่อชนิดต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ท่อเอชดีพีอี, ท่อพีอี, ท่อ PPR, ท่อ PVC เป็นต้น ท่อแต่ละชนิดก็มีหน้าที่ สถานที่สำหรับการใช้งานแตกต่างกันไป บ้างก็เหมาะที่จะใช้กับงานทั่วไป บ้างก็เหมาะสำหรับการใช้สำหรับงานอุตสาหกรรม หลายๆ ครั้ง การเลือกท่อสำหรับนำไปใช้งานนั้น ก็ต้องมีข้อควรรู้เช่นกัน ว่าท่อแต่ละชนิด เหมาะสำหรับการใช้งานสถานที่ใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับมือใหม่ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการเลือกท่อมาใช้งาน

ท่อHDPE ท่อPE , ท่อ PPR , ท่อ PVC คืออะไร ใช้งานอย่างไร

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าท่อแต่ละชนิดมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตัววัสดุที่ใช้สำหรับทำท่อแต่ละชนิด ไปจนถึงความเหมาะสมสำหรับการใช้งาน และสถานที่การใช้งาน เรามาดูไปพร้อมๆ กันเลยว่าแต่ละชนิดเป็นอย่างไรกันบ้าง

ท่อเอชดีพีอี, ท่อพีอี เป็นท่อสำหรับส่งน้ำที่อยู่ในระบบประปา โดยมีลักษณะเป็นท่อพลาสติกสีดำ ผลิตขึ้นจากพลาสติก HDPE หรือ PE ที่มีความหนาแน่นสูง ท่อชนิดนี้จะมีผิวสัมผัสภายในที่เรียบ ลื่น มัน ส่งผลให้น้ำที่ขนส่งภายในท่อสามารถไหลได้ดี สามารถใช้งานได้ทั้งภายในอาคารและกลางแจ้ง เนื่องจากท่อ HDPE มีการผสมสารป้องกันแสงแดด ทั้งยังมีความยืดหยุ่น สามารถโค้งงอได้ตามแต่ลักษณะการใช้งาน ตัวท่อมีขนาดให้เลือกตั้งแต่ 16 มม. ไปจนถึง 1,600 มม. ในส่วนของความยาวนั้น มาตรฐานของตัวท่อจะอยู่ที่ 6 เมตร, 12 เมตร, 50 เมตร และ 100 เมตร อีกทั้งยังสามารถขดท่อให้เป็นม้วน ได้ถึง ม้วนละ 50 – 100 เมตร ตามแต่ลักษณะการใช้งานได้เลย

สำหรับท่อ HDPE หรือ ท่อ PE นั้น ได้รับความนิยมอย่างมากในงานก่อสร้าง รวมถึงงานต่อเติมซ่อมแซมต่างๆ เนื่องจากท่อมีความหนาแน่นสูง แต่ก็ยืดหยุ่นได้ดี ทนทาน อีกทั้งยังมีความปลอดภัย ลักษณะการใช้งานของท่อประเภทนี้นั้น ท่อที่ใช้ที่ระบบประปาจะมีลักษณะของแถบสีฟ้า อยู่ด้านข้างท่อ หรืออาจเป็นสีดำล้วน ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ในส่วนของท่อที่ใช้ในการร้อยสายไฟฟ้า จะมีแถบสีส้มเป็นสัญลักษณ์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องตามลักษณะ ความนิยมในการนำท่อประเภทนี้ไปใช้งาน ได้แก่ งานประปา ท่อน้ำดื่ม น้ำใช้, งานเกษตร สวนป่า สนามกอล์ฟ, อุตสาหกรรมเหมืองแร่, อุตสาหกรรมเคมี, อุตสาหกรรมอาหาร, ใช้ในงานท่อร้อยสายไฟหรือสายเคเบิล, ใช้เป็นท่อน้ำทิ้ง, ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น 


ท่อ PPR หรือ Polypropylene Random Copolymer เป็นท่อสำหรับใช้ในการประปา ผลิตจากพลาสติกคุณภาพสูง ไม่มีสารเคมี ไม่เป็นสนิม ไม่มีสารเคมี และปราศจากสารก่อมะเร็ง จึงเหมาะแก่การใช้ในระบบท่อเพื่อการบริโภค สามารถใช้ได้ทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็น นิยมติดตั้งภายในอาคาร เช่น โรงพยาบาล ที่พักอาศัย โรงแรม สำนักงาน โรงเรียน เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถใช้งานในอุตสาหกรรมอาหาร เคมีของเหลว เป็นท่อในเรือ ท่อน้ำสำหรับน้ำกลั่น น้ำแร่ น้ำกรอง น้ำฝน ท่อน้ำสำหรับสระว่ายน้ำ ท่อเย็นสำหรับระบบปรับอากาศ ฯลฯ

ท่อ PPR มีลักษณะเด่น คือเป็นท่อสีเขียว มีสองรูปแบบหลักๆ คือ PPR แบบ PN10 และ PN20 ซึ่งความแตกต่างระหว่าง 2 แบบนี้จะอยู่ที่ค่า PN ที่จะเป็นตัวบอกความสามารถในการรับแรงดันน้ำของท่อนั่นเอง ท่อ PPR นั้น ไม่เหมาะสำหรับการติดตั้งใต้พื้นดิน เนื่องจากไม่ทนต่อแรงกระแทก ในการติดตั้งจะต้องใช้เครื่องมือเชื่อมท่อ เพื่อเชื่อมต่อกับเข้าข้อต่อและอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อประสานให้เป็นเนื้อเดียวกัน ในส่วนของขนาด ท่อชนิดนี้ จะมีขนาดตั้งแต่ 20 มม. ไปจนถึง 110 มม. โดยมีความยาวมาตรฐานอยู่ที่ท่อนละ 4 เมตร

ท่อ PVC เป็นท่อที่ใครหลายคนคุ้นเคย เพราะนิยมนำมาใช้งานกับระบบประปาภายในครัวเรือน รวมไปถึง อาคาร อุตสาหกรรม กันเป็นอย่างมาก ด้วยคุณสมบัติที่ผลิตจากพลาสติก Polyvinylchloride (PVC) ที่มีน้ำหนักเบา ติดตั้งได้ง่าย และมีราคาถูก แต่มีความทนทาน เหนียว และยืดหยุ่นได้ดี อีกทั้งยังเป็นฉนวนกันไฟฟ้า เหมาะการกับใช้งานทั้งอุปโภคและบริโภค

ท่อ PVC นั้น ผลิตขึ้นจากพลาสติก จึงไม่ทนทานต่อแสงแดด ทำให้นิยมนำมาใช้งานภายในอาคารมากกว่า โดยจะแบ่งประเภทออกไปตามการใช้งาน ได้แก่

  • สีฟ้า สำหรับใช้เป็นท่อประปา ท่อน้ำดื่ม มักจะมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 0.5 – 16 นิ้ว
  • สีขาว สำหรับใช้กับงานไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ มีขนาดมาตรฐานอยู่ที่ 0.375 – 2 นิ้ว ท่อ PVC สีขาวนี้ จะนิยมใช้งานแทนท่อสีเหลือง เนื่องจากสามารถกลมกลืนไปกับผนังได้ดีกว่า
  • สีเหลือง สำหรับในงานงานไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ มีขนาดมาตรฐานอยู่ที่ 0.375 – 4 นิ้ว นิยมใช้เป็นฉนวนกันไฟฟ้า ทั้งยังไม่เป็นสนิมได้ง่าย
  • สีเทา สำหรับใช้ในงานท่อน้ำทิ้ง หรือการชลประทาน มีขนาดมาตรฐานอยู่ที่ 0.25 – 5 นิ้ว


ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวของท่อชนิดต่างๆ ทั้ง ท่อเอชดีพีอี หรือ ท่อ PEท่อ PPR และ ท่อ PVC ในเบื้องต้น สำหรับการทำความเข้าใจท่อแต่ละชนิด รวมไปถึงการนำไปใช้งานไม่ว่าจะตามประเภทของท่อ ไปจนถึงสถานที่ที่ใช้งาน อย่างไรก็ตาม ท่อแต่ละชนิดก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยให้เราได้ศึกษากันต่อไป ทั้งในเรื่องของความเหมาะสมของขนาดกับประเภทงาน ไปจนถึงวิธีการติดตั้งที่ถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียงานขึ้นในงานด้วย

ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอสเอพี โฮม เซนเตอร์
SAP HOME CENTER LTD., PART.
www.saphomecenter.com
13/284 ถนนริมคลองบางค้อ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150

โทร. : 085-567-1222, 092-775-9000 
Email: saphomec@gmail.com
แฟ็กซ์
: 02-876-1733
LINE ID : @saphome

Visitors: 518,327