วิธีซ่อมท่อร้อยสายไฟ PE ใต้ดิน

วิธีซ่อมท่อร้อยสายไฟ PE ใต้ดิน

ท่อร้อยสายไฟใต้ดิน มีกี่ชนิด และหากเกิดการรั่วหรือแตกจะซ่อมได้อย่างไร

ท่อร้อยสายไฟใต้ดิน

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า ใครๆ ก็อยากมองสิ่งสวยๆ งามๆ ด้วยกันทั้งนั้น ลองนึกภาพประเทศไทยที่มองไปทางไหน ก็ไร้เสาไฟฟ้า ไร้สายไฟที่พันกันยุ่งเหยิงตามหัวมุมถนน ทัศนียภาพเมืองของเราคงงดงามมากแน่ๆ เราได้แต่ภาวนาว่ามันจะเกิดขึ้นจริงๆ ที่ประเทศไทยเข้าสักวัน

หนึ่งในอุปกรณ์ชิ้นสำคัญในการนำสายไฟเหล่านั้นเก็บลงใต้ดิน คือ ท่อร้อยสายไฟ นิยมใช้ในการทำโครงการใหญ่ๆ หรือสายไฟตามบ้าน ตามอาคาร ตึกสูง นอกจาก ท่อร้อยสายไฟจะช่วยป้องกันสายไฟจากการถูกกระแทกหรือทำให้ชำรุดแล้ว ท่อร้อยสายไฟยังช่วยให้เกิดความสวยงาม เป็นระเบียบอีกด้วย

ท่อร้อยสายไฟ คืออะไร

ท่อร้อยสายไฟ หรือ Electric Conduit คือ ท่อชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับห่อหุ้มสายไฟ มันทำหน้าที่ร้อยสายไฟหรือสายสัญญาณต่างๆ ให้เกิดความเป็นระเบียบ สวยงาม นอกจากนี้ ท่อร้อยสายไฟยังมีหน้าที่ในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากไฟฟ้ารั่ว ช่วยลดเรื่องไฟฟ้าลัดวงจร และยังปกป้องสายไฟไม่ให้โดนสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ที่จะมาทำให้สายไฟเหล่านั้นเกิดความเสียหาย จากสัตว์ จำพวกหนู หรือสัตว์กัดแทะ และจากน้ำ เป็นต้น

ท่อร้อยสายไฟมีกี่ประเภท

ท่อร้อยสายไฟ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ท่อโลหะและท่อพลาสติก

  1. ท่อโลหะ แบ่งออกเป็น

    • ท่อโลหะขนาดบางหรือท่อ EMT (Electric Metallic Tubing)
      เป็นท่อเหล็กร้อยสายไฟ และเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานไฟฟ้า มีลักษณะเป็นท่อกลวงๆ ผิวเรียบและมันวาวทั้งภายในและภายนอก ตลอดไปจนถึงปลายท่อ ทำจากเหล็กกล้าแผ่นชนิดรีดเย็นและรีดร้อน หรือแผ่นเหล็กกล้าเคลือบซิงค์
      (สังกะสี) ท่อ EMT สามารถใช้เดินท่อลอยในอากาศ หรือจะฝังในผนังคอนกรีต ก็ได้เช่นกัน แต่ ห้าม นำไปฝังดินหรือใต้พื้นคอนกรีต หรือติดตั้งใกล้สถานที่อันตรายที่มีระบบแรงสูงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับท่อ มีขนาดตั้งแต่ ½ นิ้ว ไปจนถึง 2 นิ้ว

    • ท่อโลหะขนาดกลางหรือท่อ IMC (Intermediate Medtallic Conduit)
      เป็นท่อเหล็ก ชนิดหนาปานกลาง ใช้สำหรับงานเดินท่อภายนอกอาคาร หรือฝังในผนังหรือพื้นคอนกรีตได้ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 15 มม.-100 มม. โดยท่อชนิดนี้จะผ่านขั้นตอนการชุบแบบ Hot-dip Galvanized การติดต้้งและใช้งาน ใช้ได้เช่นเดียวกับท่อโลหะชนิดบาง และติดตั้งฝังในคอนกรีตได้ แต่ไม่สามารถใช้ในสถานที่อันตรายได้

    • ท่อหนาพิเศษหรือท่อ RSC (Rigid Steel Conduit)
      ท่อเหล็กหนา เป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟที่มีลักษณะท่อเป็นโลหะกลวง มีความหนาเป็นพิเศษ และบริเวณปลายท่อทั้งสองด้านทำเกลียว ส่วนตัวท่อจะผลิตจากเหล็กแผ่นรีดร้อน-รีดเย็น และนำไปเคลือบผิวด้วยซิงค์ มีความแข็งแรง ต้านทาบนต่อการกัดกร่อน และทนต่อทุกสภาพอากาศ สามารถใช้แทนท่อเหล็กบางและท่อเหล็กหนาปานกลางได้ เหมาะกับการนำไปใช้เดินสายไฟนอกอาคาร หรือฝังในผนังแบบฝังดินและพื้นคอนกรีตได้ และยังเหมาะกับการนำไปใช้งานในพื้นที่เสี่ยงต่อการกัดกร่อน และพื้นที่อันตราย สามารถดัดท่อได้ โดยใช้ที่ดัดท่อหนาหรือ ฮิกกี้ Hickey Bender หรือเครื่องดัดท่อไฮดรอลิก ท่อที่มีขนาดใหญ่จะใช้ข้อโค้งสำเร็จรูป คล้ายๆ กับข้อโค้งสำเร็จรูปของท่อ IMC ที่มีขายทั่วไป เช่น ข้อโค้ง 90 องศา เป็นต้น ที่มีขายในตลาดจะมีตั้งแต่ ½ นิ้ว-6 นิ้ว

    • ท่อโลหะอ่อนหรือท่อ Flexible Metal Conduit
      ท่อชนิดนี้เป็นท่อร้อยสายไฟที่มีลักษณะท่อโลหะต่อกันเป็นข้อๆ สามารถโค้งงอไปมาได้ ตัวท่อทำขึ้นจากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ทั้งภายนอกและภายใน มีความแข็งแรง ทนทาน และช่วยป้องกันรอยขีดข่วนและฝุ่นควันได้ เหมาะกับการนำไปใช้ในงานเดินสายไฟในพื้นที่แห้งและเข้าถึงยาก เช่น ต่อเข้ากับโคมไฟ มุมตึกสูง หรือในพื้นที่ที่มีแรงสั่นสะเทือน เช่น บริเวิณมอเตอร์เครื่องจักร ไม่เหมาะกับการนำไปใช้เดินสายไฟในพื้นที่เปียกชื้นและพื้นที่อันตราย เช่น ห้องเก็บแบตเตอรี่ มีขนาดตั้งแต่ ½ นิ้ว - 4 นิ้ว

    • ท่อโลหะอ่อนและกันน้ำหรือท่อ LFMC (Liquid Flexible Metal Conduit)
      เป็นท่ออ่อนเหล็ก ด้านนอกหุ้มด้วย PVC, PE มีทั้งสีดำ เทา และขาว คุณสมบัติของท่อ LMFC มีความแข็งแรง กันความชื้น ทนแรงกด ต้านทานต่อรอยขีดข่วน ป้องกันคราบ น้ำและน้ำมันได้เป็นอย่างดี ไม่ลามไฟ มีอัตราการเกิดควันต่ำ เหมาะกับงานเกี่ยวกับเครื่องจักรโรงงาน ในที่ๆ มีความเปียกชื้นและเข้าถึงยาก คอมพิวเตอร์ อาคาร อุโมงค์ หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน มีขนาดตั้งแต่ ½ นิ้ว - 4 นิ้ว

  2. ท่อพลาสติก แบ่งออกเป็น

    • ท่อพีวีซีสีเหลือง
      เป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ สามารถทนต่อความร้อนได้เป็นอย่างดี ทำจากพลาสติก PVC มีข้อเสียคือ ขณะถูกไฟไหม้จะมีก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อคนออกมา และพีวีซีไม่ทนต่อยูวี หากถูกแสงยูวีหรือแสงแดดเป็นเวลานานๆ จะทำให้ท่อกรอบ มีขนาดตั้งแต่ ½ นิ้ว - 4 นิ้ว และมีความยาวท่อนละ 4 เมตร

    • ท่อ HDPE หรือท่อ PE
      เป็นท่อที่เหมาะกับการใช้งานท่อประปา งานท่อร้อยสายไฟ ผลิตจากพลาสติก Polyethylene ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดที่มีความหนาแน่นสูง มีความแข็งแรง ยืดหยุ่นตัวได้ดี มีน้ำหนักเบา ทนต่อการบีบอัดและการกระแทก มีทั้งผิวเรียบและผิวลูกฟูก มีขนาดตั้งแต่ ½ นิ้ว ขึ้นไป

    • ท่อ EFLEX
      เป็นท่อที่ทำด้วย ท่อ PE มีความหนาแน่นสูง ท่อ HDPE เหมาะกับงานท่อร้อยสายไฟแรงสูง-แรงต่ำ สายเคเบิ้ลโทรศัพท์ สายสื่อสารสัญญาณต่างๆ ท่อร้อยสายเคเบิ้ลใต้ดิน จุดเด่นคือ มีความอ่อนตัว ทนทาน ดัดโค้งงอได้ ไม่ติดหรือลามไฟ 

ข้อดี-ข้อเสียของการเดินท่อร้อยสายไฟใต้ดิน

ข้อดี

  • ทำให้สายไฟเป็นระเบียบ ดูสวยงาม ไม่รกตา
  • ท่อร้อยสายไฟจะช่วยป้องกันน้ำจากใต้ดิน ความชื้น รวมไปถึงพวกสัตว์กัดแทะ
  • ป้องกันความเสี่ยง กรณีมีไฟฟ้าลัดวงจร หากเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น มันจะจำกัดอยู่ในท่อร้อยสายไฟเท่านั้น

ข้อเสีย

  • ใช้เวลาในการติดตั้งนาน เพราะต้องเก็บสายต่างๆ ลงไปในท่อ
  • ค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องมีการใช้อุปกรณ์ชนิดอื่นๆ อีกหลายอย่าง
  • การซ่อม บำรุง ทำได้ยาก เนื่องจาก สายไฟและขนาดท่อไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่

วิธีซ่อมท่อร้อยสายไฟใต้ดิน

  • อันดับแรก เราต้องประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นกับท่อร้อยสายไฟ โดยวัดความยาวจากบาดแผลที่เกิดขึ้น หรือวัดเส้นผ่าศูนย์กลางหากมีรูความเสียหายเป็นรู
  • ถ้าวัดแล้วขนาดของความเสียหายเล็กกว่า 2 นิ้ว แนะนำให้ใช้แผ่น Electrofusion (แผ่นซ่อมแซมแบบถาวร) โดยการใช้ปืนส่งความร้อนไปยังแผ่นแปะ เมื่อแผ่นแปะเริ่มละลาย ให้นำไปอุดตรงรูรั่ว
  • สำหรับบาดแผลที่เป็นรูขนาดใหญ่ ต้องใช้แคลมป์วงกลมแบบเต็มวง หรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่สมบูรณ์ด้วยสปูล
  • ท่อร้อยสายไฟอยู่ที่ใต้ดิน ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ อาจต้องใช้เทคนิคและอุปกรณ์เฉพาะทางในการซ่อม เช่น การประกอบสปูลด้วยข้อต่อ electrofusion เพื่อซ่อมแซมบริเวณที่เสียหาย
  • การซ่อมท่อร้อยสายไฟแบบ Open-cut จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
  • หากระหว่างการซ่อมมีการดึงสายไฟออกมา อย่าลืมเก็บสายไฟให้เรียบร้อย และควรตรวจดูความเสียหาย เพราะขั้นตอนการซ่อมท่อร้อยสายไฟอาจสร้างความเสียหายให้กับสายไฟได้ ข้อนี้จึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง


แต่หากมันยุ่งยากเกินไปที่จะทำเอง หรือหารอยรั่วของท่อแล้ว หายังไงก็ไม่เจอ แนะนำให้เรียกช่างที่มีความชำนาญ มาทำการเปลี่ยนจะดีที่สุด


หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับท่อน้ำ หรือต้องการซื้อท่อทุกประเภท ท่อ PE, ท่อ HDPE, PPR, TAPKORR ท่อร้อยสายไฟ และอุปกรณ์เกี่ยวกับประปา ทั้งระบบน้ำดี น้ำเสีย ระบบรับแรงดัน ระบบระบายน้ำ ระบบทางการเกษตรและชลประทาน สามารถมาปรึกษา หจก.เอสเอพี โฮม เซนเตอร์ เราเป็นผู้จัดจำหน่ายท่อและอุปกรณ์ประปา สินค้าของเราใช้เครื่องมือที่ทันสมัยมรการผลิต มีคุณภาพสูง ราคาไม่แพง และได้รับการยอมรับตามมาตรฐานสากล และเรายังมีทีมช่างที่มีความชำนาญ สามารถปรึกษาการวางระบบท่อ ไปจนถึงการบำรุงรักษา ซ่อมแซมต่างๆ


ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอสเอพี โฮม เซนเตอร์
SAP HOME CENTER LTD., PART.
www.saphomecenter.com
13/284 ถนนริมคลองบางค้อ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150

โทร. : 085-567-1222, 092-775-9000 
Email: saphomec@gmail.com
แฟ็กซ์
: 02-876-1733
LINE ID : @saphome

Visitors: 520,656